แนวทางการเลือกแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมเครื่องถัดไปของคุณ

การซื้อแล็ปท็อปอาจเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญ คำแนะนำนี้จะให้คำแนะนำกับคุณเกี่ยวกับพื้นฐานต่างๆ และช่วยคุณในการค้นหาแล็ปท็อปที่เหมาะที่สุดสำหรับการเล่นเกมที่บ้านหรือนอกสถานที่

จุดเด่น:

  • เมื่อทำการเลือกระบบ ให้ชั่งระหว่างพลังกับความสะดวกในการพกพา

  • เลือก CPU และ GPU ที่ตรงกับรูปแบบการเล่นของคุณ ซึ่งอาจจะเป็นการเล่นเกมทั่วไป การเล่นเกมเพื่อการแข่งขัน หรือการสตรีม

  • สัมผัสเวลาโหลดที่เร็วสุดขีดด้วย NVMe SSD

  • เชื่อมต่อจอภาพขนาดใหญ่, แท่นเชื่อมต่อ Thunderbolt และอุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอกเพื่อยกระดับประสบการณ์ใช้งานของคุณที่บ้าน

  • ค้นคว้าเกี่ยวกับระบบระบายความร้อนของแล็ปท็อปเพื่อหาแล็ปท็อปที่สามารถคงประสิทธิภาพสูงสุดในระหว่างเล่นเกมได้

author-image

โดย

อาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะรู้ว่าต้องเริ่มจากตรงไหนเมื่อต้องเลือกแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกม มีคุณสมบัติมากมายให้เลือกพิจารณา รวมไปถึงจอภาพ ฟอร์มแฟคเตอร์ ระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ และ CPU กับ GPU ที่เป็นขุมพลังให้กับทุกๆ ส่วน

การอัปเกรดแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมด้วยฮาร์ดแวร์ใหม่อาจไม่เหมาะสมเสมอไป จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องวางแผนไว้ก่อนว่าจะใช้ระบบของคุณในลักษณะใด การลำดับความสำคัญให้ฟีเจอร์ที่สำคัญที่สุดสำหรับคุณถือเป็นขั้นตอนแรกที่ดี

คุณสมบัติหลักของแล็ปท็อป

  • จอแสดงผล ขนาด ความละเอียด และอัตรารีเฟรชล้วนสามารถส่งผลต่อประสบการณ์การเล่นเกมของคุณ
  • CPU และ GPU CPU คือมันสมองที่ทำงานหลายอย่างได้พร้อมกันของแล็ปท็อป ในขณะที่ GPU จะให้กำลังด้านภาพที่ยกระดับภาพและอัตรารีเฟรชของเกม
  • หน่วยความจำและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่าง SSD และ HDD และได้พิจารณาถึงขนาดของ RAM ที่คุณต้องการใช้งานเพื่อวางแผนการใช้งานระบบของคุณ
  • การออกแบบ แล็ปท็อปยิ่งเบาก็ยิ่งพกพาได้ดีกว่า ในขณะที่ฮาร์ดแวร์ยิ่งทรงพลังก็ช่วยให้คุณเล่นเกมที่ต้องการประสิทธิภาพหนักๆ ที่บ้านได้มากยิ่งขึ้น
  • พอร์ตและอินพุต ใช้พอร์ต Thunderbolt เพื่อเชื่อมต่อแท่นเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่อพ่วงเสียง และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หรือเดินทางแบบคล่องตัวโดยใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงน้อยที่สุด

ทีนี้เรามาดูรายละเอียดของฟีเจอร์ต่างๆ ที่คุณจะต้องเจอเมื่อมองหาแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกม โดยเริ่มตั้งแต่สิ่งแรกที่คุณเห็นเมื่อเปิดตัวเครื่องขึ้น นั่นคือ หน้าจอ

การแสดงผล

จอภาพที่คุณเลือกอาจมีผลกระทบเป็นอย่างมากต่อประสบการณ์เล่นเกมของคุณ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ให้พิจารณานอกเหนือไปจากขนาดของจอภาพ

คุณสมบัติหลัก

  • ความละเอียด ยิ่งความละเอียดสูง จำนวนพิกเซลบนจอภาพก็จะมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งกว่า แล็ปท็อปรุ่นใหม่ๆ อาจมาพร้อมจอภาพ 1440p หรือ 4K แทนที่จะเป็นแบบ 1080p
  • อัตรารีเฟรช จอแสดงผลที่มีอัตรารีเฟรชสูงขึ้นช่วยให้การเคลื่อนไหวบนหน้าจอดูราบรื่นขึ้นและดูตามได้สบายตาขึ้น สาเหตุเพราะระบบจะระบาดภาพซ้ำได้มากครั้งขึ้นต่อวินาที
  • ขนาดหน้าจอ ฟอร์มแฟคเตอร์ของแล็ปท็อปและขนาดหน้าจอมีจะหลากหลายกันไป ด้วยหน้าจอแบบ 13, 15, และ 17 นิ้ว เป็นขนาดที่พบเห็นได้ทั่วไปมากที่สุด ขอบหน้าจอที่แคบขึ้น (พื้นที่บริเวณขอบรอบหน้าจอ) ช่วยให้มีหน้าจอที่ใหญ่ขึ้นได้ภายในฟอร์มแฟคเตอร์ที่เล็กลง
  • ความสว่าง จอภาพที่สว่างขึ้น (หน่วยเป็นนิต) ช่วยให้ง่ายยิ่งขึ้นต่อการติดตามความเคลื่อนไหวบนจอภาพเมื่อเล่นในพื้นที่ที่มีแดดส่อง

การเชื่อมต่อแล็ปท็อปกับจอภาพภายนอกเป็นวิธีการง่ายๆ ในการยกระดับประสบการณ์ของคุณ ซึ่งช่วยให้คุณได้ฟอร์มแฟคเตอร์แบบพกพาสำหรับใช้งานได้ทุกที่ ไปพร้อมๆ กับศูนย์รวมที่เชื่อมต่อกับจอภาพความละเอียดระดับ 4K, อัตรารีเฟรช 240 Hz หรือสัดส่วนภาพแบบกว้างพิเศษ

เมื่อพิจารณาซื้อจอภาพภายนอกที่มีความละเอียดสูงหรืออัตรารีเฟรชสูง ให้แน่ใจว่าคุณได้เลือก CPU และ GPU ที่สามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติดังกล่าวได้ด้วย ยิ่งความละเอียดของจอภาพสูง ก็จะยิ่งได้อัตราเฟรมที่คุ้มค่าต่อการให้อัตรารีเฟรชที่สูงยากขึ้นเท่านั้น นั่นคือเหตุผลว่าแล็ปท็อป 4K อาจมีอัตรารีเฟรชต่ำกว่าแล็ปท็อป 1080p หรือ 1440p ที่ผลิตมาเพื่อการเล่นเกมเพื่อการแข่งขัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเลือกหน้าจอสำหรับเล่นเกมได้ที่คู่มือฉบับสมบูรณ์ของเรา

CPU

CPU หรือหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่เป็น "สมอง"ให้แล็ปท็อปของคุณ โดยจะส่งสัญญาณไปยังส่วนประกอบอื่นๆ ในระบบของคุณ และประมวลคำสั่งต่างๆ ที่ส่งโดยซอฟต์แวร์ทั้งหมดที่รันอยู่บนเครื่องของคุณ

CPU ที่คุณเลือกอาจส่งผลต่อสิ่งที่คุณทำทุกอย่าง ตั้งแต่อัตราเฟรมที่คุณเห็นในเกมไปจนถึงเวลาตอบสนองของแอปพลเคชัน รวมทั้งระยะเวลาการใช้งานแบตเตอรี่ของแล็ปท็อป

ข้อมูลจำเพาะของ CPU ที่มักได้รับการอ้างอิงเป็นปกติที่สุดคือจำนวนคอร์และความเร็วสัญญาณนาฬิกา แต่ปัจจัยอื่นอีกมากมายก็มีส่วนเช่นกัน รวมถึงศักยภาพเพื่อการโอเวอร์คล็อก1 ฟีเจอร์ของ CPU ที่สำคัญกับคุณมากที่สุดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับวิธีที่คุณจะใช้แล็ปท็อปของคุณ ดังนั้นจึงควรรู้เรื่องพื้นฐานไว้

คุณสมบัติหลัก

  • ความเร็วสัญญาณนาฬิกา ความเร็วสัญญาณนาฬิกาจะกำหนดจำนวนรอบที่ CPU ปฏิบัติงานในทุกๆ วินาที (วัดเป็น GHz) โดยทั่วไปความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่สูงขึ้นหมายถึง CPU ที่เร็วขึ้น แต่ปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายก็มีส่วนเช่นกัน ดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเร็วสัญญาณนาฬิกา CPU ได้ในคู่มือของเรา
  • จำนวนค อร์ การมีหลายคอร์ช่วยให้ CPU ทำการมัลติทาสกิ้ง โดยแต่ละคอร์ทำหน้าที่เหมือนหน่วยประมวลผลหนึ่งๆ ที่สามารถทำงานไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ได้งานมากขึ้น CPU ที่ใช้เทคโนโลยี Intel® Hyper-Threading สามารถรันได้มากกว่าหนึ่งเธรดซอฟต์แวร์ต่อคอร์ฮาร์ดแวร์ และมีโอกาสที่จะได้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นด้วย
  • ตัวเลือก CPU การใช้เวลาในการหา CPU ที่เหมาะกับแผนการใช้งานระบบของคุณนั้นเป็นสิ่งที่คุ้มค่า ถ้าคุณมองหาจำนวนคอร์และความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่สูงขึ้น ตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel® Core™ H อาจเหมาะสมที่สุด โอเวอร์คล็อก CPU แบบปลดล็อคได้1 เพื่อประสิทธิภาพเพิ่มเติมอย่างเหลือเฟือ ถ้าคุณให้ความสำคัญกับการพกพาสะดวก CPU แบบประหยัดไฟ เช่น ซีรีส์ U ของ Intel สามารถช่วยยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ได้ อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการตั้งชื่อ CPU ของ Intel ได้ที่นี่

เพื่อรักษาประสิทธิภาพระหว่างเล่นเกมให้สม่ำเสมอขณะทำการสตรีมหรือบันทึกการเล่นเกม เราแนะนำให้ใช้อย่างน้อยโปรเซสเซอร์ Intel® Core i7™ ความเร็วสัญญาณนาฬิกาและจำนวนคอร์ที่สูงขึ้นจะยิ่งมีความสำคัญถ้าคุณสนใจการเล่นเกมโดยสตรีมสด เพราะซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จับภาพมักต้องใช้พลังการประมวลผลอย่างมากเพื่อเข้ารหัสวิดีโอ

ถ้าคุณตั้งใจที่จะลงลึกดูข้อมูลจำเพาะของ CPU และตัวเลือกต่างๆ ให้ดูคู่มือของเราว่าด้วย วิธีเลือก CPU สำหรับการเล่นเกม

GPU

GPU หรือหน่วยประมวลผลกราฟิกของแล็ปท็อปจะสร้างพิกเซลเพื่อก่อตัวเป็นภาพบนหน้าจอของคุณขณะเล่นเกม ซึ่งเป็นปัจจัยหลักพร้อมๆ กับ CPU ของคุณที่ทำให้เกิดอัตราเฟรมที่ราบรื่นและเกมที่เล่นมีความละเอียดสูง

ถ้าคุณตั้งใจจะเล่นเกมด้วยความละเอียดแบบ 1440p หรือ 4K ก็ต้องใช้ CPU และ GPU ที่เอื้อให้ได้ การมีความละเอียดสูงขึ้นหมายถึงมีพิกเซลมากขึ้นบนหน้าจอ เช่น การเปิดเกมด้วยความละเอียด 4K ทำให้เกิดจำนวนพิกเซลมากขึ้นเป็นสี่เท่าของ 1080p มาตรฐาน

การใช้ CPU ของ Intel และ GPU ของ Arc ร่วมกันสามารถปลดล็อคการใช้กำลังไฟร่วมกันและประสิทธิภาพของเทคโนโลยี Intel® Deep Link อ่านเพิ่มเติมที่นี่

คุณสมบัติหลัก

  • อัตราเฟรมและความละเอียด ให้แน่ใจว่า GPU และ CPU ในแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมของคุณสามารถรักษาอัตราเฟรมได้อย่างสม่ำเสมอขณะทำการเรนเดอร์ความละเอียดที่เหมาะสมบนหน้าจอหรือบนจอแสดงผลภายนอกของคุณ เปรียบเทียบ CPU และ GPU ในแล็ปท็อปที่คุณกำลังพิจารณาจะซื้อกับข้อกำหนดในระบบของเกมที่คุณตั้งใจจะเล่น เพื่อให้พอนึกภาพออกว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร

  • อัตรารีเฟรชจอแสดงผล ถ้าคุณได้ลงทุนกับหน้าจอ 144Hz คุณก็ต้องมี GPU ที่สามารถทำให้ได้ 144 FPS (หรือสูงขึ้น) เพื่อให้ได้รับประโยชน์เต็มที่จากอัตรารีเฟรชที่สูงขึ้น
  • Ray Tracing เทคนิคเรนเดอร์ที่ต้องใช้พลังของฮาร์ดแวร์เป็นอย่างมากนี้ทำให้ได้แสงและภาพสะท้อนที่สมจริงยิ่งกว่า แต่ก็อาจส่งผลกระทบเป็นอย่างมากกับอัตราเฟรม

อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล

ไดรฟ์ Solid-State (SSD) ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าไดรฟ์แบบกลไกรุ่นเก่า (HDD) ในทุกแง่ที่มีผลต่อการเล่นเกม SSD ใช้หน่วยความจำประเภทแฟลช (NAND) เพื่ออ่านและเขียนบล็อกข้อมูลในแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่มีส่วนใดเคลื่อนขยับ ตรงกันข้ามกับ HDD ที่ใช้จานกลไกหมุนด้วยมอเตอร์ โดยมีหัวไดรฟ์เคลื่อนขยับเข้าสัมผัส

ข้อได้เปรียบสำคัญประการหนึ่งที่ SSD มีต่อ HDD ก็คือความเร็วสูงแบบสุ่มอ่าน/เขียน ซึ่งแปลว่ามันสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ตามจุดต่างๆ บนไดรฟ์ได้อย่างฉับไว ซึ่งโดยทั่วไปจะโหลดโปรแกรมและไฟล์ได้เร็วกว่า HDD ในขนาดพอกัน และสามารถช่วยลดเวลาเริ่มต้นระบบได้

เพราะ SSD ไม่ใช้ส่วนเคลื่อนขยับและมีกระบวนการเกลี่ยความสึกหรอในบล็อกหน่วยความจำ จึงทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า HDD แบบเดิมอีกด้วย

โดยปกติ SSD จะมีราคาต่อกิกะไบต์แพงกว่า HDD ในขนาดพอกันเนื่องจากมีต้นทุนในการผลิตที่สูงกว่า ด้วยเหตุนี้ ในบางระบบจึงมีให้ทั้ง SSD และ HDD ความจุสูงสำหรับเก็บไฟล์ขนาดใหญ่ แม้ว่าแล็ปท็อปรุ่นใหม่จะยิ่งใช้แต่เฉพาะ SSD มากขึ้นเรื่อยๆ

คุณสมบัติหลัก

  • NVMe SSD ไดรฟ์เหล่านี้ใช้บัส PCIe ความเร็วสูงแทนที่จะเป็นอินเทอร์เฟซ SATA แบบเก่า ทำให้มีความเร็วสูงกว่าในการสุ่มอ่าน/เขียน และอัตรารับส่งข้อมูลสูงกว่า
  • SATA SSD ไดรฟ์เหล่านี้ใช้ตัวเชื่อมต่อ SATA เหมือนกันกับ HDD แบบเดิม ซึ่งโดยปกติจะเร็วกว่าและทนทานกว่า HDD แต่ช้ากว่าไดรฟ์ NVMe แบบใหม่
  • อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลภายนอก เมื่อต้องเจอกับระบบจัดเก็บข้อมูลที่จำกัดในเครื่อง ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกหรือ SSD สามารถเพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลให้ในราคาถูก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทคโนโลยี HDDD กับ SSD ให้ดูคู่มือการเลือกอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เหมาะสมของเรา

RAM

หน่วยความจำเข้าถึงแบบสุ่มหรือ RAM เป็นหน่วยความจำที่เก็บข้อมูลไว้ชั่วคราวเพื่อการเรียกคืนอย่างรวดเร็วโดย CPU ของคุณ ซึ่งต่างไปจาก SSD หรือ HDD ที่ไม่ได้จัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร และจะรีเซ็ตในทันทีที่ไม่มีไฟเลี้ยง แต่ก็ทำให้เข้าใช้งานข้อมูลที่ใช้งานบ่อยได้รวดเร็วยิ่งกว่าไดรฟ์จัดเก็บข้อมูล

RAM ที่เพิ่มขึ้นช่วยให้พีซีสามารถรันกระบวนการได้พร้อมกันมากขึ้น และช่วยให้ระบบสามารถสลับใช้โปรแกรม ได้อย่างรวดเร็วขณะที่รันบริการต่างๆ อยู่เบื้องหลังด้วย

คุณต้องใช้ RAM มากน้อยเพียงใดในแล็ปท็อปของคุณขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งใจจะใช้งานระบบอย่างไร

  • RAM ขนาด 2-4GB อาจเพียงพอสำหรับการท่องอินเทอร์เน็ต แอปพลิเคชันการทำงานไม่หนัก หรือเกมรุ่นเก่าๆ
  • RAM ขนาด 8GB อาจเพียงพอสำหรับการเล่นเกมระดับกลางและแอปพลิเคชันการทำงานส่วนใหญ่ เกมพีซีรุ่นใหม่มากมายกำหนด RAM ขนาด 8GB เป็นข้อกำหนดระบบขั้นต่ำ
  • RAM ขนาด 16GB ช่วยให้ระบบสามารถรันเกมแบบใหม่ที่ใช้ทรัพยากรมากขึ้นด้วยการตั้งค่าที่สูงขึ้น แอปเบื้องหลังจำนวนมาก (เช่น การบันทึกเสียงแชทหรือวิดีโอไฮไลต์) และซอฟต์แวร์การสตรีมได้
  • RAM ขนาด 32GB เหมาะกับมัลติทาสกิ้งที่เน้นใช้ทรัพยากร รวมถึงการเล่นเกม การสร้างคอนเทนต์ และผู้ที่มักใช้กระบวนการแบบเน้นใช้หน่วยความจำ เช่น การตัดต่อวิดีโอหรือกาเรนเดอร์

แม้ว่าปริมาณของ RAM ที่มีอยู่ในระบบของคุณถือได้ว่าเป็นตัววัดที่สำคัญที่สุดสำหรับผู้ใช้โดยทั่วไป แต่มีฟีเจอร์อื่นๆ ของ RAM ที่ควรคำนึงถึงด้วยเช่นกัน

คุณสมบัติสำคัญ:

  • ความเร็ว วัดเป็นหน่วย MHz (หรือล้านรอบต่อวินาที) ความถี่ RAM จะวัดที่ความเร็วในการที่ RAM ของคุณสามารถเข้าถึงหน่วยความจำเมื่อได้รับคำขอจาก CPU
  • ความสามารถอัปเกรดได้ แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมบางรุ่นมีการออกแบบให้เข้าถึงสล็อต SO-DIMM ภายในที่มี RAM ติดตั้งอยู่ แต่นี่ยังเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยมีให้เจอบ่อยนัก จึงควรพิจารณาให้ดีว่าต้องใช้ RAM มากแค่ไหนสำหรับประสบการณ์ที่ต้องการของคุณ เพราะการใส่เพิ่มทีหลังอาจไม่เหมาะสม
  • SO-DIMM โปรดทราบว่า RAM ของแล็ปท็อปและเดสก์ท็อปมาใช้เปลี่ยนแทนกันไม่ได้ RAM ของแล็ปท็อปมักมีขนาดเล็กกว่า มีการวางพินที่แตกต่าง และเข้ากับสล็อต SO-DIMM (โมดูลหน่วยความจำแถวคู่ขอบเล็ก) มากกว่าสล็อต DIMM ที่คุณจะพบบนเมนบอร์ดส่วนใหญ่

ออกแบบ

แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมมีรูปร่างและขนาดต่างๆ นาๆ รุ่นระดับต้นอาจให้ความลงตัวระหว่างการพกพาสะดวกกับประสิทธิภาพ ขณะที่แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมที่ทรงพลังกว่ามักจะต้องใช้เนื้อที่มากกว่า อย่างไรก็ตาม ช่วงหลายปีนี้ ข้อดีข้อเสียเช่นนั้นเริ่มพบเห็นได้น้อยลง แล็ปท็อประดับพรีเมียมที่มีการออกแบบระบบระบายความร้อนขั้นสูงสามารถคงความบางและเบาได้โดยยังคงใช้ส่วนประกอบที่มีประสิทธิภาพสูง

ให้ชั่งข้อดีข้อเสียระหว่างพลัง ราคา การพกพาสะดวก รวมทั้งพอร์ตต่างๆ ที่มีให้ และจุดเสริมประสิทธิภาพอื่นๆ เมื่อคำนึงถึงการออกแบบแล็ปท็อป

คุณสมบัติหลัก

  • คุณภาพตัวเครื่อง การใช้เคสแบบอลูมิเนียมทำให้งานออกแบบดูโฉบเฉี่ยวและทนทานมากกว่าการใช้พลาสติกแบบเดิม

  • ขอบหน้าจอ มองหาขอบหน้าจอที่บางเพื่อลดขนาดโดยรวมของอุปกรณ์ การลดขนาดของขอบรอบหน้าจอลงช่วยให้ผู้ผลิตสามารถทำให้แล็ปท็อปเล็กลงโดยที่ยังคงขนาดของหน้าจอไว้ได้เท่าเดิม
  • น้ำหนัก น้ำหนัก: การออกแบบที่บางและเบากว่านำมาซึ่งความสะดวกในการพกพาที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมที่หนาและหนักขึ้นมักจะมาพร้อมกับคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดเตรียมศูนย์กลางการทำงาน เช่น ตัวเลือกอินพุตและเอาต์พุต (I/O) หรือระบบระบายความร้อนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • ความงดงาม แล็ปท็อปแบบพรีเมียมอาจมีตัวเครื่องโลหะคัดเงา ระบบแสงสี RGB ที่ผู้ใช้ควบคุมเอง และฟีเจอร์การออกแบบสะดุดตาอื่นๆ ที่ควรพิจารณา
  • จุดเสริมหรูหรา แม้ว่าจะไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนัก แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมระดับไฮเอนด์อาจมีให้หลายหน้าจอ สัดส่วนภาพกว้างพิเศษ งานออกแบบที่โอเวอร์คล็อกได้ ฮาร์ดแวร์ที่อัปเกรดได้ หรือแม้แต่มีคีย์บอร์ดที่ใช้กลไกสับเปลี่ยน
  • ระบบเชื่อมต่อไร้สาย แล็ปท็อปส่วนใหญ่จะติดตั้งการ์ดไร้สายไว้เพื่อทำการเชื่อมต่อกับฮอตสปอตและเราเตอร์ในบ้านบนย่านความถี่ 2.4GHz, 5GHz หรือ 6GHz เพื่อให้ได้การเชื่อมต่อที่เชื่อถือได้มากที่สุด ให้ค้นหาอุปกรณ์ Wi-Fi 6E เช่น แล็ปท็อปที่มาพร้อม Intel® Killer™ Wi-Fi 6E คุณสมบัติไร้สายทั่วไปอีกอย่างที่ควรมองหาก็คือ Bluetooth ซึ่งใช้ย่านความถี่ 2.4GHz เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ชุดหูฟังหรือตัวควบคุมระบบ2

พอร์ต

ยิ่งมีพอร์ตมากขึ้นก็หมายถึงมีตัวเลือกมากขึ้นสำหรับขยายฟังก์ชันการทำงานของแล็ปท็อป แล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมบางรุ่นอาจลดจำนวนพอร์ตที่มีให้เพื่อให้ฟอร์มแฟคเตอร์เล็กลง ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบให้คำนึงถึงข้อดีข้อเสียนี้ไว้

คุณสมบัติหลัก

  • จอแสดงผล เชื่อมต่อจอภาพภายนอกหรือ HDTV โดยใช้พอร์ตเหล่านี้ ซึ่งที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดคือ HDMI และ DisplayPort
  • เทคโนโลยี Thunderbolt™ 4 เทคโนโลยีการเชื่อมต่ออเนกประสงค์นี้สามารถส่งสัญญาณวิดีโอและเสียงไปยังจอภาพโดยใช้มาตรฐาน DisplayPort รับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า USB 3.1 ถึง 4 เท่า และจ่ายไฟได้ด้วย การเชื่อมต่อนี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการตั้งค่าจอภาพแบบหลายๆ จอ หรือการรับส่งข้อมูลจำนวนมากไปที่ไดรฟ์ภายนอก ไม่ใช่แล็ปท็อปทั้งหมดที่รองรับเทคโนโลยี Thunderbolt™ 4 ดังนั้นให้ตรวจสอบก่อนว่าคุณต้องการใช้ประโยชน์จริงๆ
  • USB พอร์ต USB สามารถใช้เชื่อมต่อกับเมาส์ ชุดหูฟัง ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ นับไม่ถ้วน ตัวเลขการปรับปรุงแก้ไขอย่าง 2.0, 3.0, หรือ 3.1 บ่งบอกถึงความเร็วการถ่ายโอนข้อมูลของพอร์ต ขณะที่การจัดประเภทอย่าง “Type-A” และ “Type-C”บ่งบอกถึงรูปทรงของขั้วต่อ
  • ระบบเสียง แล็ปท็อปส่วนใหญ่จะมีแจ็คหูฟังขนาด 3.5 มม. พร้อมทั้งพอร์ต USB สำหรับชุดหูฟังและลำโพงที่เข้ากันได้
  • อีเทอร์เน็ต แจ็คอีเทอร์เน็ตแบบ RJ-45สามารถให้การเชื่อมต่อที่รวดเร็วและเสถียรสำหรับระบบของคุณ และสามารถเป็นทางเลือกที่ดีได้แทนการต้องพึ่งพาWi-Fi ที่บ้าน ถ้าแล็ปท็อปไม่มีพอร์ตอีเทอร์เน็ต ก็สามารถใช้อะแดปเตอร์แปลง USB เป็นอีเทอร์เน็ตได้
  • SD สล็อตการ์ด SD ช่วยให้คุณสามารถขยายอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลได้อย่างง่ายดายด้วยการ์ด SDXC และช่วยให้ถ่ายโอนข้อมูลอย่างรวดเร็วระหว่างอุปกรณ์ที่รองรับฟอร์มเฟคเตอร์นี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในงานภาคสนามที่ต้องอาศัยการถ่ายโอนข้อมูลบ่อยครั้ง เช่น การถ่ายภาพและถ่ายวิดีโอ

ถ้าแล็ปท็อปที่คุณต้องการมีจำนวนพอร์ตจำกัด คุณสามารถใช้ฮับ USB แบบหลายพอร์ตหรือแท่นเชื่อมต่อ ถ้าคุณต้องหาทางเชื่อมต่อเมาส์ ชุดหูฟัง เว็บแคม ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เข้ากับแล็ปท็อปบางเรียวที่มี USB เพียงสองพอร์ต ตัวเลือกเหล่านี้อาจให้ทางเลือกการเชื่อมต่อใหม่ๆ

ดูไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางการจัดวางโต๊ะสำหรับเล่นเกมที่เน้นแล็ปท็อปเป็นหลักได้ที่คู่มือการติดตั้งแล็ปท็อปฉบับสมบูรณ์ของเรา

การระบายความร้อนของแล็ปท็อป

พัฒนาการในระบบระบายความร้อนทำให้ผู้ผลิตแล็ปท็อปสามารถทำลายภาพลักษณ์เก่าๆ ของแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมแบบหนาเทอะทะ ระบบหนึ่งที่ทรงพลังมากที่สุดในตลาดปัจจุบันคือ แล็ปท็อปแบบบางพร้อมด้วยระบบระบายความร้อนชั้นยอด

แม้ว่าการทำงานภายในจะซับซ้อน แต่หลักพื้นฐานของระบบระบายความร้อนในแล็ปท็อปส่วนใหญ่ยังคงประกอบด้วยช่องระบาย พัดลม ท่อระบายความร้อน และฮีตซิงค์ กล่าวคือ วิธีการออกแบบและใช้เครื่องมือระบายความร้อนมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก ทำให้ได้ฟอร์มแฟคเตอร์ที่เล็กลงดังที่เราเห็นในแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมรุ่นใหม่

การเปรียบเทียบระบบระบายความร้อนสองระบบจากการอ่านคำอธิบายของผู้ผลิตเพียงอย่างเดียวถือเป็นเรื่องยาก จึงควรอ่านรีวิวเพื่อศึกษาประสิทธิภาพจากการใช้งานจริง และดูว่าจะตอบโจทย์การใช้ของคุณอย่างไร

ดูคู่มือการระบายความร้อนในพีซีของเราเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

อุปกรณ์ต่อพ่วง

การใช้ประโยชน์เต็มที่จากตัวเลือกอินพุตและเอาต์พุตของแล็ปท็อปอาจสร้างประสบการณ์เหมือนเล่นเกมบนโต๊ะที่บ้านได้ เชื่อมต่อเมาส์สำหรับเล่นเกม คีย์บอร์ดที่ตอบสนองดีขึ้น หรือระบบเสียงดีเยี่ยมเพื่อสร้างโต๊ะสำหรับเล่นเกมแบบเต็มรูปแบบโดยมีแล็ปท็อปอยู่ตรงกลาง

คุณสมบัติหลัก

  • คีย์บอร์ดแบบกลไก แม้ว่าแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมส่วนใหญ่จะไม่ใช้สวิทช์แบบกลไก คุณก็สามารถเชื่อมต่อคีย์บอร์ดภายนอกผ่านทาง USB เพื่อจะได้สนุกกับรูปทรงคีย์บอร์ดเต็มขนาดที่มาพร้อมสวิทช์และความงดงามอย่างที่คุณชอบ
  • เมาส์สำหรับเล่นเกม ทัชแพดบนแล็ปท็อปผ่านการพัฒนามาเป็นอย่างมาก และในปัจจุบัน มีทัชแพดมากมายที่ผ่านการออกแบบมาเพื่อการใช้งานในแต่ละวันอย่างสะดวกสบายโดยเฉพาะ แต่เวลาเล่นเกม ควรมีการเชื่อมต่อเมาส์ด้วยตัวเลือกอินพุตเพิ่มเติมเพื่อให้การเคลื่อนไหวที่แม่นยำและปรับแต่งได้มากขึ้น
  • ชุดหูฟังและเสียง การจัดให้มีไมค์ในตัวและการปรับเสียงในเกมและเสียงคุยให้สมดุลกัน ทำให้ชุดหูฟังสำหรับเล่นเกมมีประโยชน์อย่างมากกับเกมรุ่นใหม่ที่มีผู้เล่นหลายคน หลายรุ่นมีการกำหนดค่าให้ทั้งเสียงสเตอริโอและเสียงดิจิทัลเซอร์ราวด์ ซึ่งโดยปกติจะเชื่อมต่อผ่านทางพอร์ต USB, Bluetooth, หรือแจ็คเสียงขนาด 3.5 มม.
  • ลำโพง อัปเกรดจากลำโพงในตัวแล็ปท็อปของคุณและสร้างเวทีเสียงให้มีรายละเอียดขึ้นด้วยลำโพงประจำโต๊ะหรือซาวด์บาร์ เชื่อมต่อลำโพงแบบเดิมผ่านทาง USB หรือสายเคเบิลเสียง หรือใช้ลำโพง Bluetooth น้ำหนักเบา หรือซาวด์บาร์เพื่อประสบการณ์ด้านเสียงที่สมจริงมากขึ้น

แล็ปท็อปแบบไหนที่เหมาะกับคุณ

เมื่อเลือกแล็ปท็อป สิ่งสำคัญที่สุดคือลักษณะการใช้งานของคุณ

ถ้าคุณตั้งใจจะเล่นเกมบนจอภาพภายนอก การให้ความสำคัญกับ CPU และ GPU มากกว่าจอแสดงผลในตัวที่มีฟีเจอร์มากมายอาจจะเหมาะสมกว่า ถ้าคุณตัดต่อวิดีโอหรือสร้างคอนเทนต์ การมี RAM ขนาด 32GB มี CPU ที่ทรงพลัง และมีจอแสดงผลความละเอียดสูงอาจสำคัญกว่าการมีสถาปัตยกรรม GPU ล่าสุด

ตรงนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องของการเปรียบเทียบส่วนประกอบหรือฟอร์มแฟคเตอร์ของแล็ปท็อปสำหรับเล่นเกมด้วยกันเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของการระบุฟีเจอร์ที่คุณให้ความสำคัญมากที่สุด และหาเครื่องที่มีทุกอย่างตามที่คุณมองหา

คำถามที่พบบ่อย

ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ VR และเกมที่คุณตั้งใจว่าจะเล่น ตรวจสอบประสิทธิภาพของแล็ปท็อปกับเกณฑ์มาตรฐานของผู้ผลิต เช่น การทดสอบประสิทธิภาพ SteamVR ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อ

แม้ว่าจะมีแล็ปท็อปที่ผ่านการออกแบบมาให้ทำการอัปเกรดได้ หรือมีตัวเลือกในการเชื่อมต่อกับ GPU สำหรับเดสก์ท็อป แต่ก็ไม่ค่อยมีให้เห็นบ่อยนัก อย่าลืมว่าเวลาซื้อแล็ปท็อป โอกาสที่คุณจะใช้ส่วนประกอบภายในที่มาพร้อมตอนแรกซื้อนั้นมีมากกว่า และอาจจะไม่สามารถทำการอัปเกรดได้ง่ายๆ

ได้ มีการติดตั้งการสตรีมหลากหลายรูปแบบให้ แต่แล็ปท็อปที่มีพลังพอจะตอบสนองได้ อย่าลืมว่าคุณจะต้องใช้ CPU ที่มีพลังมากพอเพื่อเข้ารหัสวิดีโอขณะเปิดเกมเล่น และการเชื่อมต่อจอแสดงผลที่สองจะช่วยให้คอยดูแอปพลิเคชันอื่นๆ เช่น แชท ได้ง่ายขึ้น เทคโนโลยีต่างๆ เช่น ระบบช่วยสตรีม Intel® Deep Link ยังสามารถปลดล็อคประสิทธิภาพในการเล่นเกมที่ดียิ่งกว่าในระหว่างการสตรีมได้ด้วยการส่งต่องานด้านการบันทึกให้กับกราฟิกในตัว

โดยปกติเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำการอัปเกรดหรือสร้างแล็ปท็อปด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากพีซีสำหรับเล่นเกม แต่โชคดีที่มีแล็ปท็อปให้เลือกมากมายที่ออกแบบโดยแบรนด์ที่เชื่อถือได้สำหรับผู้ใช้ทุกๆ คน