อัตราการรีเฟรชคืออะไร และทำไมนี่จึงเป็นสิ่งสำคัญ

จุดเด่น:

  • CPU, GPU และจอภาพจะทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุระดับอัตราการรีเฟรชหน้าจอที่สูงขึ้น

  • ตรวจสอบอัตราเฟรมในปัจจุบันของคุณ ก่อนที่จะอัปเกรดเป็นจอภาพที่มีอัตราการรีเฟรชสูง

  • พิจารณาอัตราการรีเฟรชควบคู่ไปกับคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น ความละเอียด ในขณะที่เลือกจอแสดงผล

  • พิจารณาที่จะอัปเกรด CPU และ GPU หากระบบของคุณไม่สามารถส่งมอบอัตราการรีเฟรชที่คุณต้องการได้

author-image

โดย

การเล่นเกมที่อัตราการรีเฟรชหน้าจอสูงจะช่วยส่งผลกระทบต่อประสบการณ์การเล่นเกมได้อย่างมาก ยี่ค่อนข้างเกี่ยวข้องกับเกมการแข่งขันที่รวดเร็ว ซึ่งจะนับค่าเฟรมทุกเฟรม อย่างไรก็ตาม การซื้อจอแสดงผล 144Hz หรือ 240Hz ก็ไม่เพียงพอที่จะมองเห็นประโยชน์ได้

ระบบของคุณจำเป็นต้องสามารถขับเคลื่อนอัตราเฟรมที่จำเป็นเพื่อรับข้อได้เปรียบจากอัตราการรีเฟรชที่สูงขึ้นได้

รีเฟรช เรทคืออะไร และแตกต่างจากเฟรมเรทอย่างไร

รีเฟรช เรทคือ จำนวนครั้งที่หน้าจอสามารถรีเฟรชหรือแสดงเนื้อหาใหม่ได้ภายในหนึ่งวินาที ยิ่งอัตราการรีเฟรชหน้าจอสูงขึ้นจะหมายความว่าจอแสดงผลสามารถอัปเดทภาพได้เพิ่มมากขึ้นภายใน 1 วินาที ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความราบรื่นและลื่นไหลในการเล่นเกมมากขึ้น หน่วยวัดรีเฟรช เรท จะเป็นเฮิร์ท (Hertz)

หน่วยวัด Hz คืออะไร

ซึ่งเฮิร์ท คือ หน่วยความถี่ที่มักใช้กันทั่วไปในสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ โดยหนึ่งเฮิร์ทคือหนึ่งรอบต่อวินาที ซึ่งเป็นการระบุจำนวนการสั่นหรือการทำซ้ำของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในหนึ่งวินาที พูดง่ายๆ ได้ว่า Hz คือ หน่วยการวัดจำนวนครั้งที่คลื่นสั่นหนึ่งรอบในหนึ่งวินาที เช่น ความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ CPU ใน การวัดหน่วยเฮิร์ทคือจำนวนรอบสัญญาณนาฬิกาต่อวินาที หมายถึงความสามารถของ CPU ในการทำตามคำสั่งได้กี่คำสั่งในหนึ่งวินาที

ความแตกต่างระหว่างรีเฟรช เรทกับเฟรมเรทคืออะไร ไปดูกัน

สำหรับ Frame rate คือ การนับจำนวนภาพที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์ ทีวี หรือเครื่องเล่นเกมส่งไปยังจอแสดงผลในหนึ่งวินาที โดย FPS คือหน่วยวัดของเฟรมเรท ส่วนรีเฟรช เรทหรืออัตราการรีเฟรชหน้าจอ คือ ความเร็วของจอแสดงผลที่สามารถทำการแสดงภาพให้ได้ภายในหนึ่งวินาที และ Hz คือหน่วยวัดของรีเฟรช เรท และสำหรับคอมพิวเตอร์หรือทีวีทั่วไปจะมีค่ามาตรฐาน Frame rate คือ 60 FPS และค่ารีเฟรช เรท คือ 60 Hz

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราการรีเฟรช

ดังที่เห็นได้จากภาพประกอบด้านบน อัตราการรีเฟรชหน้าจอที่สูงสุดหมายถึง ความถี่ในการอัปเดตการแสดงผลรูปภาพที่อยู่บนจอภาพ เวลาระหว่างการอัปเดตเหล่านี้ถูกวัดค่าในหน่วยมิลลิวินาที (ms) ในขณะที่อัตราการรีเฟรชของหน้าจอจะได้รับการวัดค่าในหน่วยเฮิร์ต (Hz)

อัตราการรีเฟรชของจอแสดงผลของคุณหมายถึง จำนวนครั้งที่จอแสดงผลวาดภาพใหม่ต่อวินาที ซึ่งจะวัดค่าในหน่วยเฮิร์ต (Hz) ตัวอย่างเช่น หากจอแสดงผลของคุณมีอัตราการรีเฟรชหน้าจออยู่ที่ 144Hz จอดังกล่าวจะรีเฟรชภาพ 144 ครั้งต่อวินาที จอภาพจะสามารถส่งมอบประสบการณ์ที่ราบรื่นยิ่งขึ้นและค่า FPS ที่สูงขึ้นอย่างมาก เมื่อจับคู่กับอัตราเฟรมสูงที่ได้รับการผลิตขึ้นผ่านการทำงานร่วมกันระหว่าง GPU และ CPU

สามส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดที่ต้องพิจารณาเพื่อใช้ประโยชน์จากอัตราการรีเฟรชหน้าจอที่สูงขึ้นคือ

  • จอภาพที่มีความสามารถในการรีเฟรชได้อย่างรวดเร็ว
  • CPU ที่รวดเร็วพอที่จะส่งคำสั่งเกมที่สำคัญ รวมถึง AI, ฟิสิกส์, ตรรกะของเกม และข้อมูลการเรยเดอร์
  • GPU ที่รวดเร็วพอที่จะดำเนินการคำสั่งเหล่านี้ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับสร้างสรรค์กราฟิกที่คุณเห็นบนหน้าจอ

จอภาพจะแสดงภาพตามค่าอัตราที่ระบบสร้างขึ้น ดังนั้นนี่จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ CPU และ GPU จะต้องมีศักยภาพในการดำเนินการกระบวนการนี้ได้อย่างรวดเร็ว หาก CPU และ GPU ของคุณไม่มีศักยภาพเพียงพอในการส่งเฟรมจำนวนมากให้กับจอภาพ จอภาพของคุณก็จะไม่สามารถสร้างภาพที่มีอัตราการรีเฟรชหน้าจอสูงได้ ไม่ว่าจอภาพจะมีศักยภาพดีเพียงใดก็ตาม

หากจอภาพของคุณมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอชอยู่ที่ 144Hz แต่ GPU สามารถส่งเฟรมให้ได้ 30 เฟรมต่อวินาทีเท่านั้น จอภาพก็จะไม่สามารถใช้อัตราการรีเฟรชที่สูงกว่านั้นได้

การกำหนดค่าฮาร์ดแวร์

ระดับของฮาร์ดแวร์ที่จำเป็นต้องใช้เพื่อขับเคลื่อนอัตราการรีเฟรชที่สูงขึ้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปตามอัตราการรีเฟรชที่คุณคาดหวัง และเกมที่คุณกำลังเล่นอยู่ กล่าวได้ง่ายๆ ว่า ยื่งอัตราการรีเฟรชหน้าจอของจอภาพสูงขึ้นมากเท่าใด CPU และ GPU ของคุณก็จำเป็นต้องผลิต FPS ออกมามากขึ้นเท่านั้น และคุณก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นจากตัวเลือกประสิทธิภาพที่สูงขึ้น

ด้วยเหตุนี้เอง เกมจึงมีปริมาณโหลดบน CPU และ GPU ที่ไม่เท่ากัน เกมที่เก่ากว่า หรือเกมที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีกราฟิกล่าสุดจะใช้ทรัพยากรน้อยกว่าเกมที่ล้ำสมัย นั่นหมายความว่าฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่าอาจมีอัตราการรีเฟรชหน้าจอที่สูงกว่าได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเกมที่คุณต้องการจะเล่น

การตั้งค่ากราฟิกที่ใช้งานจะส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ที่ต้องใช้ประสิทธิภาพฮาร์ดแวร์เป็นอย่างมาก การลดความละเอียดลงเป็น 1080p จะส่งให้มีอัตราการรีเฟรชหน้าจอที่สูงขึ้นในขณะที่ใช้ประสิทธิภาพน้อยลง เช่นเดียวกับการปิดหรือลดการตั้งค่ากราฟิก และเช่นเดียวกับการรับความละเอียดในระดับที่สูงขึ้น ยิ่งมีการลดทอนประสบการณ์ในการเล่นเกมบนฮาร์ดแวร์มากเท่าใด ฮาร์ดแวร์ก็จะผลิตอัตราเฟรมที่สูงขึ้นเพียงพอที่มองเห็นประโยชน์ของจอภาพที่มีอัตราการรีเฟรชสูงได้มากขึ้นเท่านั้น

ซึ่งนี่อาจหมายถึงการปรับการตั้งค่าและความละเอียดของเกมเพื่อหาจุดสมดุลที่เหมาะสมกับคุณ

พิจารณาถึงศักยภาพของระบบของคุณ

คุณควรตรวจสอบให้มั่นใจว่าระบบของคุณมีความเหมาะสมกับงาน ก่อนที่จะอัปเกรดเป็นจอภาพที่มีอัตราการรีเฟรชสูง

วิธีการที่ดีที่สุดและง่ายที่สุดในการเรียนรู้ว่า ระบบของคุณสามารถรองรับอัตราการรีเฟรชได้เท่าไร ก็คือการเล่นเกมและดูศักยภาพของระบบ ใช้ยูทิลิตีการตรวจสอบอัตราเฟรม เช่น Fraps เพื่อแสดงค่า FPS (เฟรมต่อวินาที) ในปัจจุบันของคุณ ในขณะที่คุณเล่นเกม ยูทิลิตีการตรวจสอบอัตราเฟรมส่วนใหญ่มีความสามารถในการเปรียบเทียบค่า FPS เฉลี่ยของคุณ ซึ่งจะช่วยติดตามผลประสิทธิภาพของระบบในตลอดเซสชันการเล่นเกม

ตามทฤษฎีแล้ว คุณจะต้องการให้อัตราเฟรมของเกมมีค่าตรงกับอัตราการรีเฟรชหน้าจอของจอภาพแบบ 1:1 เพื่อสัมผัสกับประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยม ตัวอย่างเช่น ระบบของคุณควรจะมีค่าเอาท์พุทอยู่ที่ 144 FPS เพื่อรับประโยชน์ของจอภาพ 144Hz ได้อย่างเต็มรูปแบบ

กล่าวคือคุณยังสามารถเพลิดเพลินกับอัตราการรีเฟรชที่สูงขึ้นได้ แม้ว่าจะไม่ถึงขีดจำกัดด้านศักยภาพของจอภาพของคุณก็ตาม การเล่นเกมที่ 110Hz ย่อมดีกว่าการเล่นเกมที่ 60Hz และคุณสามารถอัปเกรด CPU และ GPU ของคุณเป็น 144 FPS ในภายหลังได้เสมอ

หากระบบของคุณประสบปัญหาในรันเกมที่สูงกว่า 60 FPS คุณก็ไม่น่าจะได้รับประโยชน์จากจอภาพที่มีอัตราการรีเฟรชหน้าจอสูงมากนัก แต่อาจเป็นสิ่งที่คุ้มค่าที่จะลงทุน หากพีซีของคุณสามารถส่งมอบ FPS ได้สูงกว่า 60

ในกรณีที่คุณยังไม่ได้เป็นเจ้าของเกมที่คุณต้องการเล่น คุณสามารถทดสอบเกมที่คล้ายคลึงกันและใช้การประมาณการได้ เกมประเภทเดียวกันที่วางจำหน่ายในปีเดียวกัน หรือสร้างขึ้นในเอนจิ้นเดียวกันมักจะมีข้อกำหนดด้านประสิทธิภาพที่คล้ายคลึงกัน คุณยังสามารถค้นคว้าประสบการณ์ของผู้เล่นคนอื่น และนำการกำหนดค่าฮาร์ดแวร์ของคุณมาเปรียบเทียบกับฮาร์ดแวร์ของพวกเขาทราบถึงสิ่งที่ควรคาดหวัง

การซิงค์ที่ปรับได้

หากระบบของคุณประสบปัญหาในการรับค่า FPS ที่คุณต้องการ จอภาพที่มีการซิงค์แบบอะแด็ปทีฟอาจมีประโยชน์อย่างมาก จอแสดงผลที่ทันสมัยมากมายล้วนมาพร้อมกับเทคโนโลยีนี้ การซิงค์แบบอะแด็ปทีฟจะช่วยให้จอแสดงภาพสามารถสื่อสารกับ GPU ได้โดยตรงเพื่อทำให้อัตราการรีเฟรชหน้าจอของจอภาพได้รับการซิงโครไนซ์ในขณะที่เฟรมแต่ละเฟรมถูกสร้างขึ้น แม้ว่า FPS จะไม่สอดคล้องกันก็ตาม

Vertical Sync (VSync) เป็นฟีเจอร์ที่คล้ายคลึงกันสามารถเปิดใช้งานในเกมได้ เทคโนโลยีการซิงค์แบบอะแด็ปทีฟและ VSync จะช่วยลดหรือกำจัดภาพวัตถุ เช่น การฉีกขาดของจอภาพในขณะที่ต้องรับมือกับอัตราเฟรมที่ผันผวน

การเลือกจอภาพที่เหมาะสม

จอภาพที่มีอัตราการรีเฟรชหน้าจอสูงจะพร้อมใช้งานงานอัตราการรีเฟรชที่หลากหลาย โดย 144Hz ถือเป็นการปรับปรุงขึ้นมาจากจอภาพมาตรฐาน 60Hz อย่างมาก และ 240 Hz ก็ได้รับความนิยมในฐานะตัวเลือกระดับไฮเอนท์ ดูการจัดประเภทจอภาพสำหรับเล่นเกมของเราโดยแบ่งตามอัตราการรีเฟรชและความละเอียดเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

คุณไม่จำเป็นต้องซื้อจอภาพที่มีอัตราการรีเฟรชสูงสุดเท่าที่ระบบของคุณรองรับได้ ดังนั้น ให้มองหาจอภาพที่มีชุดฟีเจอร์ที่เหมาะสมสำหรับคุณแทน การค้นหาจอภาพที่มีอัตราการรีเฟรช ความละเอียด ขนาดหน้าจอ และอัตราส่วนภาพที่ตรงกับความสามารถด้านประสิทธิภาพของพีซีของคุณควรเป็นสิ่งที่มีความสำคัญที่สุด

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูคู่มือที่ครอบคลุมเกี่ยวกับจอภาพ

อัปเกรดระบบเพื่อการเล่นเกมที่ราบรื่นมากขึ้น

จอแสดงผลที่มีอัตราการรีเฟรชหน้าจอสูงอาจส่งผลกระทบกับประสบการณ์การเล่นเกมของคุณอย่างมาก โดยสมมติว่าฮาร์ดแวร์ของคุณมีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่สูงขึ้น

นี่คือตัวอย่างสองสามของการกำหนดค่าระบบที่รองรับอัตราการรัเฟรชที่สูงขึ้น

1920x1080 144Hz

  • CPU: Intel® Core™ i5-11600K
  • GPU: Nvidia GeForce RTX 3060
  • RAM: 8 GB
  • อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล: หน่วยความจำ Intel Optane 32GB/HDD 1TB
  • จอแสดงผล: อัตราการรีเฟรช 1920x1080/144Hz

1920x1080 240Hz

  • CPU: Intel® Core™ i7-11700K
  • GPU: Nvidia GeForce RTX 3070
  • RAM: 16 GB
  • อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล: Intel SSD 512GB/HDD 1TB
  • จอแสดงผล: 2560x1440/อัตราการรีเฟรช 144Hz หรือ 1920x1080/อัตราการรีเฟรช 240Hz

1920x1080 360Hz

  • CPU: Intel® Core™ i9-11900K
  • GPU: Nvidia GeForce RTX 3080
  • RAM: 32 GB
  • อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล: Intel SSD 1TB/HDD 2TB
  • จอแสดงผล: 3840x2160/อัตราการรีเฟรช 120Hz, 2560x1440/อัตราการรีเฟรช 240Hz หรือ 1920x1080/อัตราการรีเฟรช 360Hz

ไม่ว่าการกำหนดค่าระบบของคุณจะเป็นอย่างไร โปรดอย่าลืมที่จะจับคู่กับจอแสดงผลที่มีฟีเจอร์ที่คุณกำลังมองหา เมื่อ CPU, GPU และจอภาพสามารถรองรับและทำงานร่วมกับได้ ผลลัพธ์ควรแสดงให้เห็นถึงข้อดีของอัตราการรีเฟรชหน้าจอที่สูงขึ้นได้อย่างชัดเจน