วิธีการอ่านและการทำความเข้าใจเกณฑ์มาตรฐานของ CPU

จุดเด่น:

  • ตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานของ CPU ทุกครั้งที่คุณซื้อ ประกอบหรืออัปเกรดพีซีของคุณ

  • การทดสอบแบบสังเคราะห์จะมีประโยชน์สำหรับการประเมินความแรงโดยรวมของ CPU ของคุณ

  • การทดสอบในการใช้งานจริงจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพการใช้งานเฉพาะ

  • วัด FPS และเวลาเฟรมระหว่างการเล่นแบบออฟไลน์และการเล่นแบบสตรีมสดด้วยการวัดประสิทธิภาพขณะเล่นเกม

  • ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับคะแนนแบบมัลติคอร์เมื่อประเมินเกมและซอฟต์แวร์แบบมัลติเธรด

author-image

โดย

มีหลายวิธีในการตัดสินประสิทธิภาพสัมพัทธ์ของ CPU การเปรียบเทียบรายการข้อมูลจำเพาะนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี: CPU ที่มีจำนวนคอร์มากกว่าและมีความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่สูงกว่ามักจะมีประสิทธิภาพดีกว่าบรรดาพี่น้องในตระกูลเดียวกัน

แต่ถ้าคุณต้องการเปรียบเทียบ CPU ที่เป็นตัวท็อปเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมากับรุ่นกลางๆ ที่ออกมาในปีนี้ล่ะ หรือถ้าคุณต้องการประมาณความเร็วที่เพิ่มขึ้นที่ CPU ใหม่สามารถให้ได้สำหรับเกมหรือแอปพลิเคชันเฉพาะล่ะ

เกณฑ์มาตรฐานของ CPU จะมีบทบาทในเรื่องนี้

เกณฑ์มาตรฐานของ CPU คืออะไร

เกณฑ์มาตรฐานช่วยให้สามารถเปรียบเทียบระหว่าง CPU หลายตัวได้อย่างง่ายดายโดยการให้คะแนนประสิทธิภาพในชุดการทดสอบมาตรฐานและมีประโยชน์ในหลายๆ กรณี:

  • เมื่อซื้อหรือประกอบ PC ใหม่ ใช้คะแนนมาตรฐานเพื่อวัดความสามารถของระบบในการรันเกมและแอปพลิเคชันก่อนตัดสินใจซื้อ สามารถดูรายการคะแนนได้ในเว็บไซต์บทวิจารณ์ต่างๆ อย่างเช่น Tom’s Hardware
  • ก่อนอัปเกรด CPU เปรียบเทียบเกณฑ์มาตรฐานสำหรับ CPU ต่างๆ ในเว็บไซต์บทวิจารณ์ หรือถ้าจะให้ดีกว่านั้นให้ตรวจสอบในเว็บไซต์ของบริษัทซอฟต์แวร์การวัดประสิทธิภาพ เมื่อคุณวางแผนที่จะอัปเกรด CPU
  • หลังอัปเกรด CPU เรียกใช้เกณฑ์มาตรฐานของคุณเองเพื่อดูตัวอย่างประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หลังจากการอัปเกรดส่วนประกอบหลัก
  • การโอเวอร์คล็อก CPU เปรียบเทียบ CPU ของคุณโดยใช้โปรแกรมอย่าง Intel® Extreme Tuning Utility (Intel® XTU) เพื่อประเมินประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นหลังจากโอเวอร์คล็อก

การทดสอบและเครื่องมือการเปรียบเทียบ CPU

นักรีวิว CPU อาศัยการทดสอบเกณฑ์มาตรฐานของ CPU ที่หลากหลายเพื่อประเมิน CPU ซึ่งแยกได้เป็นสองหมวดคือ เกณฑ์สังเคราะห์ และ เกณฑ์ในโลกแห่งความเป็นจริง

การวัดประสิทธิภาพแบบสังเคราะห์

ใช้การวัดประสิทธิภาพแบบสังเคราะห์เมื่อต้องการเปรียบเทียบทั่วไประหว่างซีพียูต่างๆ อย่างรวดเร็ว

การทดสอบแบบสังเคราะห์จะจำลองงานต่างๆ หลากหลายงาน เช่น การแสดงภาพ 3D การบีบอัดไฟล์ การเปิดเว็บไซต์ การคำนวนเลขทศนิยม และอื่นๆ หลังจากวัดระดับประสิทธิภาพของ CPU ในแต่ละงานแล้วตัวเลขเหล่านี้จะถูกถ่วงน้ำหนักและรวบรวมเป็นคะแนนเพียงคะแนะเดียว

คะแนนที่ได้จะเป็นเป็นแบบ "สังเคราะห์" เนื่องจากการทดสอบที่ใช้ในการคำนวณเป็นการจำลองสถานการณ์ แทนที่จะทดสอบประสิทธิภาพของโปรเซสเซอร์ในแอปพลิเคชันเฉพาะ (เช่น ชุดความคิดสร้างสรรค์ 3 มิติหรือเกม) กลับใช้การจำลองปริมาณงานที่แอปพลิเคชันอาจวางบน CPU ภายใต้สถานการณ์ที่แตกต่างกัน

กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การวัดประสิทธิภาพแบบสังเคราะห์ไม่ใช่ตัวทำนายประสิทธิภาพที่แน่นอน แต่การวัดประสิทธิภาพด้วยวิธีนี้ก็มีการนำมาใช้ในการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของ CPU กันอย่างแพร่หลาย ตัวอย่างเช่น:

  • PassMark จะเรียกใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์อย่างหนักซึ่งเป็นการเน้นประสิทธิภาพของ CPU ในการบีบอัด การเข้ารหัส และงานที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์
  • 3DMark จะวัดความสามารถของระบบในการจัดการกราฟิก 3 มิติสำหรับการเล่นเกม
  • PCMark 10 จะให้คะแนนกับระบบว่าสามารถจัดการกับเวิร์กโฟลว์ทางธุรกิจและการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในแต่ละวันได้ดีเพียงใด
  • Intel® Extreme Tuning Utility (Intel® XTU) จะเน้นที่การทดสอบ CPU นอกเหนือจากการโอเวอร์คล็อกและการตรวจสอบการทำงาน

โดยแอปพลิเคชันแต่ละตัวมีฐานข้อมูลคะแนนที่จัดอันดับซีพียูต่างๆ ไว้มากมาย ซี่งทำให้สามารถเปรียบเทียบพลังของโปรเซสเซอร์เชิงสัมพัทธ์ได้ในพริบตา

การวัดประสิทธิภาพตามการใช้งานจริง

ใช้การวัดประสิทธิภาพตามการใช้งานจริงเมื่อคุณมีแผนเฉพาะสำหรับพีซีของคุณและต้องการตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพที่แม่นยำสำหรับแอปพลิเคชันเฉพาะ

การทดสอบเหล่านี้ดำเนินการโดยให้โปรแกรมจริงทำงานภายใต้ภาระงานที่หนัก จากนั้นวัดเวลาที่ใช้ในการดำเนินการ ด้วยเหตุนี้ จึงมีการแสดงตัวอย่างประสิทธิภาพของระบบที่เชื่อถือได้เมื่อใช้การตั้งค่าเดียวกัน

แอปพลิเคชันที่ใช้กันทั่วไปสำหรับการเปรียบเทียบประสิทธิภาพตามการใช้งานจริง ได้แก่ :

  • 7-Zip เพื่อวัดความเร็วในการบีบอัดและการคลายการบีบอัดข้อมูลของ CPU
  • Blender เพื่อวัดความเร็วในการเรนเดอร์ภาพ 3 มิติ ของ CPU
  • Handbrake เพื่อวัดความเร็วในการเข้ารหัสวิดีโอของ CPU

เครื่องมือสำหรับเกณฑ์มาตรฐานในเกมเป็นการทดสอบในการใช้งานจริงอีกประเภทหนึ่ง โดยจะทำการทดสอบในฉากที่ไม่มีการโต้ตอบซึ่งพร้อมให้ใช้งานในบางเกม ใช้เกณฑ์มาตรฐานในเกมเพื่อตรวจสอบผลกระทบของ CPU ต่อ FPS (เฟรมต่อวินาที) ในระหว่างการเล่นเกมตามปกติและในหว่างการสตรีม

การทดสอบเหล่านี้จะมอบสภาพแวดล้อมสำหรับการทดสอบซ้ำๆ ได้ เกณฑ์มาตรฐานจะช่วยให้คุณอ่านประสิทธิภาพในเกมได้อย่างแม่นยำ ตราบใดที่การกำหนดค่าระบบของคุณยังคงเหมือนเดิม

สถิติการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของคุณหมายถึงอะไร

เมื่อคุณทราบเกี่ยวกับการเปรียบเทียบประสิทธิภาพแบบต่างๆ แล้ว เรามาดูวิธีอ่านคะแนนกัน

ในการทดสอบแบบสังเคราะห์ ระบบการให้คะแนนจะแตกต่างกันไปตามโปรแกรม การวัดมักได้ผลลัพธ์ออกเป็น "คะแนน" (หรือคำศัพท์เฉพาะของโปรแกรมอื่น) CPU ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าคือ CPU ที่มีคะแนนสูงกว่า แม้ว่าสิ่งสำคัญคือต้องจำไว้ว่า CPU ต่างๆ ได้รับการออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน ไม่ใช่ทั้งหมดที่เน้นการเล่นเกม ใช้การทดสอบที่สะท้อนถึงวิธีที่คุณวางแผนจะใช้ CPU ของคุณ

ในทางกลับกัน การทดสอบแบบใช้งานจริงจะใช้ช่วงเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ในการประเมิน

  • เฟรมที่ลดลง ในการทดสอบเกณฑ์มาตรฐานการสตรีม เฟรมที่ลดลงจะนับจากจำนวนเฟรมที่หายไประหว่างการถอดรหัสวิดีโอ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาพสะดุดให้เห็นขณะเล่น ค่า % ของเฟรมที่ลดลงต่ำเป็นสิ่งที่เป็นที่ต้องการ
  • FPS (สำหรับวิดีโอ) ในการทดสอบการเข้ารหัสวิดีโอ FPS จะนับจากจำนวนเฟรมที่ CPU ของคุณเข้ารหัสต่อวินาที สูงกว่าย่อมดีกว่า
  • FPS (สำหรับการเล่นเกม) ในการทดสอบเกณฑ์มาตรฐานในเกม FPS จะนับจำนวนเฟรมที่แสดงผลทุกวินาที FPS ที่สูงขึ้นมักหมายถึงการเล่นเกมที่ละเอียดอ่อน (แต่ควรคำนึงถึงเวลาเฟรมด้วย)
  • เวลาเฟรม (ต่ำ 1% และต่ำ 0.1%) ในการทดสอบเกณฑ์มาตรฐานในเกม เวลาเฟรม (หรืออัตราเฟรม) จะนับจำนวนมิลลิวินาทีระหว่างเฟรม ตามหลักแล้ว การวัดผลนี้ควรออกมาสม่ำเสมอกัน มิฉะนั้นการกระจายของอัตราเฟรมจะไม่สม่ำเสมอซึ่งจะส่งผลให้เกิดการกระตุก เมื่อถูกวัดเป็นมิลลิวินาที ตัวเลขที่ต่ำนั้นดีกว่า ในขณะที่เมื่อแปลง FPS เป็นค่าเฉลี่ย FPS ตัวเลขที่สูงกว่านั้นดีกว่า
  • GB/s (กิกะไบต์ต่อวินาที) ในการทดสอบการเข้ารหัสนั้น GB/s จะวัดผลลัพธ์ข้อมูล สูงกว่าย่อมดีกว่า
  • MIPS (ล้านคำสั่งต่อวินาที) ในการทดสอบการบีบอัดข้อมูลนั้น MIPS จะวัดจำนวนของคำสั่งระดับต่ำที่ทำโดย CPU ต่อวินาที สูงกว่านั้นดีกว่า แต่แทบจะไม่มีนัยยะสำคัญเมื่อใช้เทียบเจนเนอเรชั่นของ CPU เนื่องจากความหมายของคำสั่งที่ทำนั้นแตกต่างกัน
  • เวลาเรนเดอร์ ในการทดสอบเกณฑ์มาตรฐานการเรนเดอร์นั้น เวลาเรนเดอร์จะวัดความเร็วที่ CPU ของคุณสร้างรูปทรงเรขาคณิต แสงเงา และวัตถุในฉาก 3D เวลาที่น้อยกว่าย่อมดีกว่า

เนื่องจากโปรเซสเซอร์บางรุ่นจะให้ผลลัพธ์ที่เยี่ยมยอดกับการทดสอบเกณฑ์มาตรฐาน CPU บางอย่าง ดังนั้นสิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานหลายๆ เกณฑ์แทนที่จะวางใจตัวเลขเดียว

การวัดประสิทธิภาพแบบสังเคราะห์และแบบใช้งานจริงสามารถเสริมซึ่งกันและกันได้ ตรวจสอบการวัดประสิทธิภาพแบบสังเคราะห์สำหรับมุมมองภาพรวมความแรงของ CPU บางตัว จากนั้นใช้การวัดประสิทธิภาพแบบใช้งานจริงเพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นว่า CPU จะทำงานอย่างไรในการใช้งานในแต่ละวัน ใช้ทั้งสองอย่างเพื่อทำความเข้าใจความสามารถของ CPU อย่างถ่องแท้

ตัวอย่างเช่น เมื่อเลือกซื้อ CPU สำหรับการเล่นเกม ให้ใช้คะแนนมาตรฐานเพื่อประเมินระดับประสิทธิภาพทั่วไปของ CPU เมื่อคุณพบตัวเลือกในใจสักสองสามตัวแล้ว ให้ดูที่ FPS และเวลาเฟรมที่จะรองรับกับเกมที่ออกใหม่ล่าสุด (หรือหากคุณกำลังซื้อ CPU โดยคาดว่าจะมีเกมที่ยังไม่เปิดตัว คุณสามารถดูเกณฑ์มาตรฐานบางอย่างสำหรับเกมที่จะสร้างขึ้นโดยใช้เครื่องเดียวกันและการประมาณการได้)

คะแนนคอร์เดียว เทียบกับ หลายคอร์

เกณฑ์มาตรฐานมักถูกแบ่งออกเป็นคะแนนคอร์เดี่ยวและคะแนนหลายคอร์

คะแนนแบบคอร์เดี่ยวนั้นมีความเกี่ยวข้องกับเกมและแอปพลิเคชันที่ใช้เธรดน้อยๆ มากกว่า ซึ่งหมายความว่าเกมและแอปพลิเคชันเหล่านั้นพึ่งพาคอร์เดียวในการประมวลผลคำสั่งจำนวนมาก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด

คะแนนแบบหลายคอร์มีความเกี่ยวข้องมากกว่าสำหรับเกมและแอปพลิเคชันที่ใช้เธรดจำนวนมากซึ่งหมายความว่าเกมและแอปพลิเคชันเหล่านั้นจะกระจายคำสั่งออกไปหลายคอร์

คุณจะบอกได้อย่างไรว่าเกมนั้นๆ ใช้เธรดน้อยหรือมาก

  • เปิดตัวจัดการงาน เมื่อเกมกำลังทำงานอยู่ ให้เปิดตัวจัดการงาน (CTRL+SHIFT+ESC) ใน Windows 10 แล้วคลิกที่แท็บประสิทธิภาพ คุณจะเห็นกราฟแสดงการใช้งาน CPU เปิดอยู่
  • กำหนดค่ากราฟ CPU คลิกขวาที่กราฟ แล้วคลิก "เปลี่ยนกราฟเป็น > โปรเซสเซอร์เชิงตรรกะ" คุณจะเห็นโหลดที่แต่ละคอร์ของ CPU ถูกแสดงแยกกัน
  • เปรียบเทียบกิจกรรมหลัก หากเกมมีการใช้เธรดเพียงเล็กน้อย กิจกรรมส่วนใหญ่จะถูกแยกออกเป็นหนึ่งคอร์

แม้ว่าเกมยอดนิยมบางเกม รวมถึง Fortnite2 มีการใช้เธรดน้อย แต่เกมอื่นๆ กลับใช้คอร์มากขึ้น เกมที่ใช้เธรดอย่างหนัก เช่น Assassin’s Creed Origins3 และ Battlefield V4 สามารถขยายขนาดเพื่อเน้นหลายคอร์ได้ เกมเหล่านี้อาจมี FPS ที่สูงขึ้นบน CPU ที่มีหลายคอร์

การกำหนดค่าของระบบ

แม้ว่าเกณฑ์มาตรฐานของ CPU จะมีความสำคัญ แต่ทุกองค์ประกอบก็มีบทบาทต่อประสิทธิภาพของระบบ

  • CPU เกมที่มี AI ฟิสิกส์และกระบวนการภายหลังทางกราฟิกที่ซับซ้อนมักจะใช้ CPU อย่างหนักหน่วงและอาจได้รับประโยชน์มากขึ้นจาก CPU ที่มีจำนวนคอร์/เธรดที่สูงขึ้นและความเร็วสัญญาณนาฬิกาที่สูงขึ้น
  • GPU ตรวจสอบเกณฑ์มาตรฐานของ GPU เพิ่มเติมจากเกณฑ์มาตรฐานของ CPU เมื่อประเมินประสิทธิภาพการเล่นเกมของระบบของคุณเนื่องจากเกมบางเกมจะขึ้นอยู่กับ GPU มากกว่า ตัวอย่างเช่น การ์ดแสดงผลแบบแยกสามารถรองรับงานส่วนใหญ่ของการเรนเดอร์ภาพ 3 มิติได้
  • หน่วยความจำและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ส่วนประกอบเหล่านี้อาจส่งผลต่อการตอบสนองของระบบและเวลาในการโหลด
  • ซอฟต์แวร์ ประสิทธิภาพจะผันผวนในแต่ละเกม ไม่ว่าคุณจะมีการกำหนดค่าระบบของคุณไว้อย่างไร มันเกิดขึ้นเอง สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับวิธีการตั้งโปรแกรมเกม การตั้งค่ากราฟิกและความละเอียดที่คุณกำลังเล่นจะส่งผลต่อประสิทธิภาพด้วย

ดูบทความของเราเกี่ยวกับวิธีป้องกันปัญหาคอขวดเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับสมดุลระบบของคุณ

การปรับปรุงคะแนนมาตรฐานของคุณ

ไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมระดับไฮเอนด์ สตรีมมิงเซสชันการเล่นเกมของคุณแบบสดหรือการสร้างสรรค์และทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพบนพีซีของคุณ แบรนด์ Intel® Core™ นำเสนอ CPU ที่มีประสิทธิภาพที่ปรับขนาดได้ตามความต้องการ

สำหรับข้อมูลเชิงลึกถึงวิธีการเลือก CPU ที่เหมาะสมกับการเล่นเกม อ่านเพิ่มเติมที่นี่