การเลือกเมนบอร์ดสำหรับเล่นเกม เป็นส่วนที่สำคัญมากในการจัดสเปกพีซี
เมนบอร์ดทำอะไรบ้าง เมนบอร์ดคือแผงวงจรที่เชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ของคุณทั้งหมดเข้ากับโปรเซสเซอร์ จ่ายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลาย และกำหนดประเภทของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล โมดูลหน่วยความจำ และการ์ดกราฟิกต่างๆ (ในการ์ดขยายอื่นๆ) ที่สามารถเชื่อมต่อกับพีซีของคุณได้
ด้านล่างนี้ เราจะทำการวิเคราะห์เมนบอร์ดอย่างละเอียด และให้ข้อมูลทั้งหมดที่คุณจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้แนวทางการเลือกเมนบอร์ดสำหรับการจัดสเปกของคุณ
การวิเคราะห์เมนบอร์ดอย่างละเอียด
เมนบอร์ดคือแผงวงจรหลักของพีซี แม้ว่าความสวยงามของเมนบอร์ดจะเปลี่ยนไปตลอดเวลา แต่ดีไซน์พื้นฐานของเมนบอร์ดจะช่วยให้เชื่อมต่อกับการ์ดขยาย ฮาร์ดไดรฟ์ และโมดูลหน่วยความจำใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึงการเปลี่ยนฮาร์ดแวร์เก่าๆ อีกด้วย
มาลองดูคำศัพท์บางส่วนที่คุณจะได้พบในระหว่างการเปรียบเทียบเมนบอร์ดรุ่นต่างๆ กัน
ซ็อกเก็ตโปรเซสเซอร์
โดยทั่วไปแล้ว เมนบอร์ดจะประกอบด้วยซ็อกเก็ตโปรเซสเซอร์อย่างน้อยหนึ่งตัว ซึ่งช่วยให้ CPU ของคุณ ("มันสมอง" เชิงกลของพีซี) สามารถสื่อสารกับส่วนประกอบที่สำคัญอื่นๆ ได้ ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยความจำ (RAM), อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ติดตั้งไว้ในสล็อตเพิ่มขยาย ซึ่งเป็นได้ทั้งอุปกรณ์ภายในอย่าง GPU และอุปกรณ์ภายนอกอย่าง อุปกรณ์ต่อพ่วง
(ทั้งนี้ มาเธอร์บอร์ดบางตัวอาจไม่มีซ็อกเก็ต โดยในระบบที่มีพื้นที่ว่างน้อย เช่น มินิพีซีและแล็ปท็อปส่วนใหญ่ จะมีการเชื่อม CPU ติดกับมาเธอร์บอร์ดไว้แล้ว)
ทุกครั้งที่เลือกเมนบอร์ด ให้ดูเอกสารประกอบของ CPU เพื่อให้แน่ใจว่าบอร์ดดังกล่าวใช้งานร่วมกับ CPU ของคุณได้ ซ็อกเก็ตต่างๆ จะมีความแตกต่างกันไปเพื่อให้รองรับผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกันได้ตามรุ่น ประสิทธิภาพ และปัจจัยอื่นๆ ตามการเปลี่ยนแปลงพินอาร์เรย์ (ชื่อของซ็อกเก็ตมาจากพินอาร์เรย์ เช่น ช็อกเก็ต LGA 1151 ใช้งานร่วมกับ CPU รุ่นที่ 9 ได้ โดยมีพิน 1,151 พิน)
เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะเชื่อมต่อ CPU เข้ากับ RAM โดยตรง ซึ่งจะดึงข้อมูลคำสั่งเครื่องจากโปรแกรมต่างๆ รวมไปถึงสล็อตเพิ่มขยายบางช่องที่สามารถรองรับส่วนประกอบที่เน้นด้านประสิทธิภาพได้ เช่น GPU และไดรฟ์จัดเก็บข้อมูล ตัวควบคุมหน่วยความจำทำงานบน CPU ได้ด้วยตัวเอง แต่อุปกรณ์อื่นๆ เป็นจำนวนมากจะสื่อสารกับ CPU ผ่านทางชิปเซ็ต ซึ่งควบคุมสล็อตเพิ่มขยาย, การเชื่อมต่อ SATA, พอร์ต USB และฟังก์ชั่นเสียงและเครือข่ายมากมาย
Chipset
ชิปเซ็ต เป็นแกนซิลิโคนที่ฝังอยู่ในเมนบอร์ด ซึ่งใช้งานร่วมกับ CPU รุ่นต่างๆ ได้ตามที่กำหนด โดยจะเป็นตัวถ่ายทอดการสื่อสารระหว่าง CPU และอุปกรณ์ต่อขยายและอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก
แม้ว่า CPU จะเชื่อมต่อเข้ากับ RAM โดยตรง (ผ่านตัวควบคุมหน่วยความจำในเครื่อง) และเชื่อมต่อกับ PCIe* Lane (สล็อตเพิ่มขยาย) ตามที่จำกัดจำนวนไว้ แต่ชิปเซ็ตก็จะทำหน้าที่เป็นฮับที่ควบคุมบัสอื่นๆ บนเมนบอร์ดดังกล่าว PCIe Lane, อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล, พอร์ตภายนอก เช่น ช่องเสียบ USB และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ
ชิปเซ็ตที่ดีกว่านั้นอาจมาพร้อมกับช่องเสียบ PCIe และพอร์ต USB ที่มากกว่ารุ่นมาตรฐาน รวมไปถึงการกำหนดค่าฮาร์ดแวร์ที่ใหม่กว่าและรูปแบบการแบ่งส่วนช่องเสียบ PCIe ที่แตกต่างกัน (โดยมีการเชื่อมต่อโดยตรงกับ CPU มากกว่า)
การเลือกชิปเซ็ต
ชิปเซ็ตรุ่นใหม่ๆ จะรวมคุณสมบัติมากมายเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นส่วนประกอบที่แยกกันต่างหาก แล้วนำมาเชื่อมต่อกับเมนบอร์ด การ์ดเสียงแบบออนบอร์ด, Wi-Fi, เทคโนโลยี Bluetooth® และเฟิร์มแวร์เกี่ยวกับการเข้ารหัสลับต่างก็รวมอยู่ในชิปเซ็ตของ Intel แล้ว
สุดยอดชิปเซ็ตอย่าง Z390 มีคุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ให้เลือกใช้มากมาย รวมไปถึงการรองรับการโอเวอร์คล็อ3 และความเร็วบัสที่สูงกว่า เท่านั้นยังไม่พอ ชิปเซ็ตของ Intel ยังมีการพัฒนาปรับปรุงเพิ่มเติมอีกด้วย
คุณสามารถดูข้อมูลความแตกต่างคร่าวๆ ระหว่างชิปเซ็ตของ Intel ในซีรี่ส์ต่างๆ ได้ที่นี่
Z-Series
- รองรับการโอเวอร์คล็อกใน CPU ที่ชื่อรุ่นลงด้วย "K"
- PCIe Lane สูงสุด 24 เลน
- พอร์ต USB 3.1 รุ่นที่ 2 สูงสุดหกพอร์ต
H-ซีรีส์
- ไม่รองรับการโอเวอร์คล็อก
- PCIe Lane สูงสุด 20 เลน
- พอร์ต USB 3.1 รุ่นที่ 2 สูงสุดสี่พอร์ต
B-Series
- ไม่รองรับการโอเวอร์คล็อก
- PCIe Lane สูงสุด 20 เลน
- พอร์ต USB 3.0 เท่านั้น
ตัวเลือกที่แตกต่างกันเหล่านี้ช่วยให้เข้าถึงได้ในระดับราคาที่หลากหลาย โดยที่ยังคงได้ใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของชิปเซ็ต 300 Series ได้
สล็อตเพิ่มขยาย
PCIe
Peripheral Component Interconnect Express (PCIe) เป็นบัสเสริมแบบอนุกรมความเร็วสูงที่ฝังอยู่ในชิปเซ็ตของเมนบอร์ดหรือ CPU ตัวใดตัวหนึ่ง หรือทั้งสองตัว ซึ่งช่วยในการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ เช่น การ์ดกราฟิก, ไดร์ฟ Solid-State, อะแดปเตอร์เครือข่าย, การ์ดตัวควบคุม RAID, การ์ดจับภาพ และการ์ดเสริมอื่นๆ มากมายเข้ากับช่องเสียบ PCIe ของเมนบอร์ด อุปกรณ์ต่อพ่วงในตัวที่มีอยู่ในเมนบอร์ดส่วนใหญ่นั้นยังเชื่อมต่อผ่าน PCIe ได้อีกด้วย
ลิงก์ PCIe แต่ละลิงก์จะมีจำนวนเลนข้อมูลกำหนดไว้ชัดเจน โดยระบุเป็น ×1, ×4, ×8 หรือ ×16 (มักออกเสียงเป็น "คูณหนึ่ง" "คูณสี่" ฯลฯ) แต่ละเลนประกอบด้วยสายสองเส้น เส้นหนึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูล และอีกเส้นทำหน้าที่รับข้อมูล
ในการใช้งาน PCIe รุ่นปัจจุบัน ลิงก์ PCIe x1 จะมีเลนข้อมูลหนึ่งเลนที่มีอัตราถ่ายโอนอยู่ที่หนึ่งบิตต่อรอบ โดยทั่วไปแล้ว เลน PCIe x16 คือช่องเสียบที่ยาวที่สุดบนเมนบอร์ดของคุณ (และเป็นช่องเสียบที่มักใช้กับการ์ดกราฟิกอีกด้วย) โดยจะมีเลนข้อมูล 16 เลน ซึ่งสามารถทำการถ่ายโอนได้สูงสุด 16 บิตต่อรอบ อย่างไรก็ตาม วัฏจักรของ PCIe ในอนาคตจะสามารถเพิ่มอัตราการถ่ายโอนข้อมูลต่อรอบได้ถึงสองเท่า
การปรับปรุงแก้ไข PCIe แต่ละครั้งจะเพิ่มแบนด์วิดธ์เป็นสองเท่าจากรุ่นก่อนหน้าโดยประมาณ นั่นคือประสิทธิภาพของอุปกรณ์ PCIe ที่ดียิ่งขึ้นนั่นเอง ลิงก์ PCIe 2.0 ×16 มีแบนด์วิดธ์สูงสุดแบบสองทิศทางตามทฤษฎีอยู่ที่ 16 GB/s ในขณะที่ลิงก์ PCIe 3.0 ×16 อยู่ที่ 32 GB/s เมื่อเปรียบเทียบกับเลนของ PCIe 3.0 ลิงก์ x4 ที่ไดร์ฟ Solid-State หลากหลายรุ่นมักนำมาใช้กันทั่วไปจะมีแบนด์วิดธ์สูงสุดในทางทฤษฎีอยู่ที่ 8 GB/s ในขณะที่ลิงก์ x16 ที่ GPU ใช้นั้นมีแบนด์วิดธ์เป็นสี่เท่า
คุณสมบัติอีกประการของ PCIe คือเป็นทางเลือกในการใช้ช่องเสียบที่มีเลนมากกว่าเป็นช่องเสียบสำรองแทนช่องที่มีเลนน้อยกว่า เช่น คุณสามารถใส่การ์ดเสริม x4 ลงในช่องเสียบ x16 ได้ โดยการทำงานจะเป็นไปตามปกติ อย่างไรก็ตาม อัตราความเร็วของการ์ดจะยังคงเป็นเหมือนกับกรณีที่อยู่ในช่องเสียบ x4 หรือก็คือเลนเพิ่มเติม 12 เลนนั้นไม่มีการใช้งาน
เมนบอร์ดบางรุ่นจะมีช่องเสียบ M.2 และ PCIe ซึ่งสามารถใช้เลน PCIe ได้มากกว่าที่มีอยู่จริงบนแพลตฟอร์มนั้นๆ เช่น เมนบอร์ดบางตัวอาจมีช่องเสียบ PCIe x16 อยู่เจ็ดช่อง ซึ่งในทางทฤษฎีก็คือสามารถใช้ได้ 112 เลน แต่โปรเซสเซอร์และชิปเซ็ตอาจแสดงเพียง 48 เลน
หากมีการใช้งานทุกเลน ช่องเสียบ PCIe มักจะเปลี่ยนไปใช้การกำหนดค่าแบนด์วิดธ์ที่ต่ำลง เช่น หากมีการติดตั้ง GPU สองตัวลงในช่องเสียบ PCIe x16 สองช่อง ลิงก์อาจทำงานที่ x8 แทน x16 (การเชื่อมต่อ PCIe 3.0 ×8 แทบไม่มีโอกาสเกิดปัญหาคอขวดใน GPU รุ่นใหม่ๆ) เมนบอร์ดคุณภาพสูงบางรุ่นอาจใช้สวิตช์ PCIe ที่ทำให้ตัวเลนกางออก แต่การกำหนดค่าเลนของช่องเสียบก็ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เมนบอร์ดสำหรับผู้ใช้จริงจัง เช่น Z-Series จะมีเลน PCIe มากกว่าและความยืดหยุ่นดียิ่งกว่าให้กับผู้ประกอบพีซี
M.2 และ U.2
M.2 คือฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กที่มีขนาดพอดีกับอุปกรณ์ต่อขยายขนาดเล็ก (ยาว 16 - 110 มม.) รวมไปถึงไดร์ฟ Solid-State แบบ NVMe (Non-Volatile Memory express), การ์ด WiFi และอุปกรณ์อื่นๆ
อุปกรณ์ M.2 มี "คีย์" (รูปแบบการจัดเรียงส่วนเชื่อมต่อสีทองที่ปลายอุปกรณ์) ที่แตกต่างกันไป ซึ่งใช้ในการพิจารณาความเข้ากันได้กับซ็อกเก็ตบนเมนบอร์ด แม้ว่าจะสามารถใช้อินเทอร์เฟสที่แตกต่างกันได้อย่างหลากหลาย แต่การ์ด M.2 ที่ใช้งานโดยทั่วไปนั้นจะใช้เลนข้อมูลที่มีเวลาแฝงต่ำสี่เลนหรือบัส SATA ที่เก่ากว่า
เนื่องจากการ์ด M.2 มีขนาดเล็กมาก จึงง่ายต่อการเพิ่มความจุของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลหรือความจุของระบบในระบบที่มีขนาดเล็กมากได้ โดยทำการเสียบเข้ากับเมนบอร์ดโดยตรง ซึ่งช่วยตัดความจำเป็นในการใช้สายแบบที่อุปกรณ์ SATA ดั้งเดิมใช้
อุปกรณ์เชื่อมต่อ U.2 เป็นอินเทอร์เฟสทางเลือกที่จะเชื่อมต่อเข้ากับ SSD ขนาด 2.5 นิ้ว ที่ใช้การเชื่อมต่อ PCIe แบบใช้สาย อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล U.2 มักมีการนำไปใช้งานในการวางระบบแบบมืออาชีพ เช่น เซิร์ฟเวอร์และศูนย์ข้อมูล จึงพบได้น้อยกว่าในการจัดสเปกของรายย่อย
ทั้ง U.2 และ M.2 ต่างก็ใช้เลน PCIe ในจำนวนเท่ากันและมีความเร็วเทียบเคียงกันได้ แต่ U.2 จะรองรับการเปลี่ยนอุปกรณ์แบบ Hot Swap (กล่าวคือ สามารถถอดไดรฟ์ออกได้ในระหว่างที่ระบบที่ใช้งานไดรฟ์นั้นกำลังทำงานอยู่) และรองรับการกำหนดค่าพลังงานได้มากกว่า M.2
SATA
SATA (Serial ATA) เป็นคอมพิวเตอร์บัสรุ่นเก่ากว่าที่มีการใช้งานน้อยมากในยุคปัจจุบัน ทำหน้าที่ในการเชื่อมต่อกับฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้ว หรือ 3.5 นิ้ว, ไดร์ฟ Solid-State, และออปทิคัลไดรฟ์ที่ใช้เล่น DVD และ Blu-ray
แม้ว่าจะช้ากว่า PCIe แต่อินเทอร์เฟส SATA 3.0 ทั่วไปจะรองรับความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลได้สูงถึง 6Gbit/s รูปแบบ SATA Express (หรือ SATAe) ที่ใหม่กว่า จะใช้เลน PCIe สองเลน ทำให้ได้ความเร็วสูงถึง 16Gbit/s ระวังอย่าสับสนกับ External SATA (eSATA) ที่เป็นพอร์ตภายนอกที่ช่วยในการเชื่อมต่อฮาร์ดไดรฟ์แบบพกพา (ที่ใช้งานร่วมกันได้)
RAM
เมนบอร์ดยังมีช่องเสียบโมดูล RAM หรือแท่งหน่วยความจำชั่วคราวที่จะจัดเก็บข้อมูลไว้ชั่วคราวเพื่อให้ทำการค้นคืนได้อย่างรวดเร็ว การใช้ RAM ความเร็วสูงหลายๆ ตัวสามารถช่วยให้ PC รองรับโปรแกรมต่างๆ พร้อมกันได้โดยไม่ทำให้ความเร็วลดลง
โดยทั่วไป เมนบอร์ดขนาดเต็ม (เช่น ฟอร์มแฟคเตอร์แบบ ATX) จะมีช่องเสียบสี่ช่อง ในขณะที่บอร์ดที่มีขนาดจำกัดอย่าง mITX จะมีอยู่สองช่อง อย่างไรก็ตาม เมนบอร์ด HEDT สามารถมีได้สูงสุดแปดตัว
เมนบอร์ดรุ่นปัจจุบันรองรับสถาปัตยกรรมหน่วยความจำแบบ Dual-Channel นั่นคือมีแชนเนลต่างหากสองแชนเนลคอยถ่ายโอนข้อมูลระหว่างตัวควบคุมหน่วยความจำของ CPU และ DIMM (Dual In-line Memory Modules) RAM เพียงติดตั้ง RAM สองตัวที่มีความถี่ตรงกัน ก็จะทำให้ได้การถ่ายโอนข้อมูลที่รวดเร็วยิ่งขึ้นและประสิทธิภาพที่ดียิ่งกว่าในบางแอปพลิเคชัน
ปัจจัยด้านรูปร่าง
ฟอร์มแฟคเตอร์ของเมนบอร์ดของคุณเป็นตัวกำหนดขนาดของเคสที่คุณต้องใช้ จำนวนช่องเสียบขยายที่คุณจะต้องใช้งาน และแง่ปัญหาต่างๆ ของการออกแบบและการระบายความร้อนของเมนบอร์ด โดยทั่วไปแล้ว ฟอร์มแฟคเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่าจะมีช่องเสียบ M.2, PCIe เต็มขนาด, และ DIMM ให้ใช้งานมากขึ้น
เพื่อช่วยให้ง่ายต่อผู้บริโภครายย่อยและผู้ผลิต จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานระดับสูงด้านขนาดของเมนบอร์ดสำหรับเดสก์ท็อปไว้ ในทางกลับกัน ฟอร์มแฟคเตอร์ของเมนบอร์ดสำหรับแล็ปท็อปจะมีขนาดแตกต่างกันไปตามผู้ผลิต เนื่องจากข้อจำกัดด้านขนาดที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจพบได้ในเดสก์ท็อปสำเร็จรูปที่เน้นการใช้งานเฉพาะทางมากๆ
ฟอร์มแฟคเตอร์ของเมนบอร์ดสำหรับเดสก์ท็อปที่ใช้กันทั่วไปมีดังนี้
- ATX (12 นิ้ว × 9.6 นิ้ว): มาตรฐานปัจจุบันสำหรับเมนบอร์ดขนาดเต็ม โดยปกติแล้ว เมนบอร์ด ATX สำหรับผู้บริโภครายย่อยมาตรฐานจะมาพร้อมกับสล็อตเพิ่มขยายเจ็ดช่อง ห่างกัน 0.7 นิ้ว และช่องเสียบ DIMM (หน่วยความจำ) สี่ช่อง
- Extended ATX หรือ eATX (12 นิ้ว x 13 นิ้ว): ฟอร์มแฟคเตอร์ ATX ในรูปแบบที่ใหญ่กว่า ซึ่งออกแบบมาเพื่อการใช้งานแบบมืออาชีพและผู้ใช้จริงจัง บอร์ดเหล่านี้จะมีพื้นที่เพิ่มเติมทำให้ได้โครงฮาร์ดแวร์ที่ยืดหยุ่นยิ่งกว่า
- Micro ATX (9.6 นิ้ว × 9.6 นิ้ว): ATX ที่มีขนาดกะทัดรัดกว่า มาพร้อมกับสล็อตเพิ่มขยาย (×16) และช่องเสียบ DIMM สี่ช่อง พอดีกับเคสแบบ Mini-Tower แต่ยังคงใช้งานร่วมกับรูติดตั้งในเคส ATX ขนาดใหญ่กว่าได้
- Mini-ITX (6.7 นิ้ว × 6.7 นิ้ว): ฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ไม่มีระบบระบายความร้อนด้วยพัดลม มีช่องเสียบ PCIe ขนาดเต็มหนึ่งช่อง และโดยทั่วไป จะมีช่องเสียบ DIMM สองช่อง รูติดตั้งสามารถใช้งานร่วมกับเคส ATX ได้เช่นกัน
สิ่งที่คุณจำเป็นต้องทราบเกี่ยวกับ BIOS
สิ่งแรกที่คุณจะเห็นเมื่อเริ่มต้นระบบคอมพิวเตอร์ของคุณก็คือ BIOS หรือ Basic Input/Output System ซึ่งเป็นเฟิร์มแวร์ที่จะโหลดก่อนเริ่มต้นระบบปฏิบัติการของคุณ และมีหน้าที่ในการเริ่มต้นระบบและทดสอบฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่ออยู่ทั้งหมด
แม้ว่าผู้ใช้จะยังคงเรียกว่า BIOS หรือเมนบอร์ดจัดประเภทไว้เช่นนั้นก็ตาม แต่โดยทั่วไปแล้ว เฟิร์มแวร์ดังกล่าวบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะเป็น UEFI (Unified Extensible Firmware Interface) สภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นยิ่งกว่านี้ช่วยยกระดับความง่ายในการใช้งานมากมาย เช่น การรองรับพาร์ทิชันของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ใหญ่กว่า การเริ่มต้นระบบที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และ GUI (Graphical User Interface) ที่ล้ำสมัย
ผู้ผลิตเมนบอร์ดมักจะเพิ่มยูทิลิตี UEFI ที่ช่วยให้กระบวนการโอเวอร์คล็อกหน่วยความจำหรือ CPU ของพีซีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเพิ่มค่าพรีเซ็ตที่เป็นประโยชน์ และอาจมาพร้อมกับภาพลักษณ์ที่ทันสมัย, เพิ่มคุณสมบัติด้านการบันทึกและการจับภาพหน้าจอ, ช่วยให้กระบวนการต่างๆ ง่ายขึ้น เช่น การเริ่มต้นระบบจากไดรฟ์อื่น และแสดงหน่วยความจำของจอมอนิเตอร์ อุณหภูมิ และความเร็วพัดลมได้อีกด้วย
UEFI ยังคงรองรับคุณสมบัติเดิมของ BIOS อีกด้วย ผู้ใช้สามารถเริ่มต้นระบบในโหมดดั้งเดิมหรือ Legacy (หรือ CSM / Compatibility Support Module) เพื่อเข้าใช้งาน BIOS แบบดั้งเดิม ซึ่งอาจช่วยแก้ปัญหาด้านความเข้ากันได้กับยูทิลิตีหรือโปรแกรมปฏิบัติการที่เก่ากว่าได้ แต่แน่นอนว่า เมื่อผู้ใช้เริ่มต้นระบบในโหมดดั้งเดิม ก็จะไม่ได้ใช้คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ใหม่ๆ จาก UEFI เช่น การรองรับพาร์ทิชันที่มีขนาดมากกว่า 2TB (หมายเหตุ: ให้สำรองข้อมูลสำคัญไว้ก่อนการเปลี่ยนโหมดการเริ่มต้นระบบเสมอ)
ขั้วต่อภายใน
เพื่อจ่ายไฟให้กับทุกส่วนของเมนบอร์ด ต้องเสียบสายจากพาวเวอร์ซัพพลายและเคสเข้ากับขั้วต่อและหัวต่อ (พินที่โผล่ออกมา) บนเมนบอร์ด ดูภาพอ้างอิงในคู่มือของคุณ ข้อความตัวเล็กๆ ที่พิมพ์ไว้บนเมนบอร์ดของคุณ (เช่น CPU_FAN) เพื่อจับคู่สายแต่ละเส้นให้เข้ากับขั้วต่อที่ตรงกัน
อุปกรณ์เชื่อมต่อข้อมูลและขั้วต่อสายไฟ
- ขั้วต่อสายไฟแบบ 24 พิน
- ขั้วต่อสายไฟ CPU ขนาด 12V แบบ 8 หรือ 4 พิน
- ขั้วต่อสายไฟ PCIe
- อุปกรณ์เชื่อมต่อ SATA Express/SATA 3
- อุปกรณ์เชื่อมต่อ M.2
หัวต่อ
- หัวต่อแผงด้านหน้า: กลุ่มพินเฉพาะสำหรับปุ่มเปิด/ปิด, ปุ่มรีเซ็ต, ไฟ LED ของฮาร์ดไดรฟ์, ไฟ LED ของปุ่มเปิด/ปิด, ลำโพงในตัว และคุณสมบัติต่างๆ ของเคส
- หัวต่อเสียงที่แผงด้านหน้า: จ่ายไฟให้กับพอร์ตหูฟังและลำโพง
- หัวต่อพัดลมและปั๊ม: สำหรับระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ, CPU และระบบ
- หัวต่อ USB 2.0, 3.0 และ 3.1
- หัวต่อ S/PDIF (ระบบเสียงดิจิทัล)
- หัวต่อ RGB Strip
พอร์ตภายนอก
เมนบอร์ดของคุณเป็นฮับที่อุปกรณ์ภายนอกจะมาเชื่อมต่อด้วย และตัวควบคุม I/O จะทำหน้าที่จัดการกับอุปกรณ์เหล่านี้ เมนบอร์ดสำหรับผู้บริโภครายย่อยจะมีพอร์ตที่เชื่อมต่อการ์ดกราฟิกที่ฝังอยู่ใน CPU เข้ากับจอมอนิเตอร์ของคุณ (ซึ่งเป็นประโยชน์ หากคุณไม่มีการ์ดจอแยก หรือกำลังประสบปัญหาด้านจอแสดงผล), อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น คีย์บอร์ดและเมาส์, อุปกรณ์เสียง, สาย Ethernet และอีกมากมาย การเปลี่ยนพอร์ตเหล่านี้เป็นรุ่นใหม่ๆ เช่น USB 3.1 Gen 2 สามารถเพิ่มความเร็วได้มากยิ่งขึ้น
เมนบอร์ดจะจัดกลุ่มพอร์ตภายนอกเอาไว้ที่แผงด้านหลัง ซึ่งปิดเอาไว้ด้วย "I/O Shield" แบบถอดออกได้หรือแบบฝัง ซึ่งมีการต่อสายดินเอาไว้เพราะมักจะมีการสัมผัสกับเคสที่เป็นโลหะ ซึ่งในบางครั้งจะติดมากับเมนบอร์ด หรือมาแบบแยกต่างหากเพื่อไว้ทำการติดตั้งในขณะที่ประกอบเข้ากับระบบ
อุปกรณ์ต่อพ่วงและการถ่ายโอนข้อมูล
- พอร์ต USB: พอร์ตที่พบได้ทั่วไป ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อกับเมาส์ คีย์บอร์ด หูฟัง สมาร์ทโฟน กล้อง และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ซึ่งทำได้ทั้งจ่ายไฟและถ่ายโอนข้อมูล (ที่ความเร็วสูงสุด 20 GBit/s เมื่อใช้ USB 3.2) เมนบอร์ดในปัจจุบันอาจมาพร้อมกับทั้งขั้วต่อ USB Type-A แบบดั้งเดิมและขั้วต่อ Type-C ที่พลิกสลับบนล่างได้และมีขนาดเล็กกว่า
- พอร์ต Thunderbolt™ 3: พอร์ตความเร็วสูงที่ใช้ขั้วต่อ USB-C เทคโนโลยี Thunderbolt™ 3 ถ่ายโอนข้อมูลได้ที่ความเร็วสูงถึง 40 GB/s และยังรองรับมาตรฐาน DisplayPort 1.2 และ USB 3.1 การรองรับ DisplayPort ช่วยให้ทำการเชื่อมต่อแบบ “Daisy Chain” กับไดรฟ์และจอมอนิเตอร์ที่เข้ากันได้หลายๆ ตัวจากพีซีเครื่องเดียวกันได้
- พอร์ต PS/2: พอร์ตแบบดั้งเดิมที่เป็นขั้วต่อแบบหกพินที่ใช้สีเป็นสัญลักษณ์นี้ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับคีย์บอร์ดและเมาส์
การแสดงผล
พอร์ตจอแสดงผลเหล่านี้จะเชื่อมต่อเข้ากับโซลูชันด้านกราฟิกแบบออนบอร์ดของเมนบอร์ดของคุณ โดยที่การ์ดกราฟิกที่ติดตั้งอยู่ในสล็อตเพิ่มขยายของคุณจะแสดงตัวเลือกพอร์ตจอแสดงของตน
- HDMI (High-Definition Multimedia Interface): การเชื่อมต่อดิจิทัลที่พบได้ทั่วไปนี้รองรับความละเอียดสูงสุดถึง 8K ที่ 30Hz ตั้งแต่ HDMI 2.1
- DisplayPort: มาตรฐานการแสดงผลนี้รองรับความละเอียดสูงสุดถึง 8K ที่ 60Hz ตั้งแต่ DisplayPort 1.4 แม้ว่าจะพบได้บ่อยบนการ์ดกราฟิกมากกว่ามาเธอร์บอร์ด แต่บอร์ดจำนวนมากก็มาพร้อมกับการรองรับ DisplayPort ผ่านพอร์ต Thunderbolt™ 3 ในตัว
- DVI (Digital Video Interface): พอร์ตแบบดั้งเดิมที่มีมาตั้งแต่ปี 1999 รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ 29 พินดิจิทัลนี้เป็นได้ทั้งแบบ DVI ลิงก์เดี่ยวหรือลิงก์คู่ที่ให้แบนด์วิดธ์สูงกว่า ลิงก์คู่รองรับความละเอียดสูงสุด 2560 × 1600 ที่ 60Hz ซึ่งเชื่อมต่อกับ VGA ผ่านอะแดปเตอร์ได้อย่างง่ายดาย
- VGA (Video Graphics Array): การเชื่อมต่อแบบ 15 พินอนาล็อกที่รองรับความละเอียดสูงสุด 2048 × 1536 ที่อัตรารีเฟรช 85Hz พอร์ตแบบดั้งเดิมนี้ยังคงพบเห็นได้ในเมนบอร์ดบางรุ่น ซึ่งมักจะเกิดปัญหาประสิทธิภาพของสัญญาณลดลงเมื่อใช้ความละเอียดสูงหรือสายที่สั้นไป
ระบบเสียง
ด้านหน้าเคสพีซีมักจะมีพอร์ตเสียงขนาด 3.5 มม. แบบอนาล็อกสองพอร์ตที่ติดสัญลักษณ์สำหรับหูฟัง (headphone out) และไมโครโฟน (mic in) เอาไว้
โดยปกติแล้ว แผงด้านหลังของเมนบอร์ดจะมีชุดพอร์ตเสียงแบบอนาล็อกขนาด 3.5 มม. ที่มีสัญลักษณ์และใช้สีเป็นสัญลักษณ์อยู่หกพอร์ตไว้สำหรับเชื่อมต่อระบบลำโพงแบบหลายทิศทางหรือ Multichannel
เมนบอร์ดของคุณอาจมาพร้อมกับอุปกรณ์เชื่อมต่อ S/PDIF (Sony/Philips Digital Interface) เช่น พอร์ตเสียงแบบโคแอกเชียลและออปติคัล ที่ใช้งานได้กับลำโพงดิจิทัล ตัวรับสัญญาณชุดโฮมเธียเทอร์ และอุปกรณ์เสียงอื่นๆ ซึ่งอาจเป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์ หากอุปกรณ์ที่คุณกำลังใช้งานไม่รองรับการถ่ายโอนข้อมูลเสียงผ่าน HDMI
เครือข่าย
เมนบอร์ดสำหรับผู้บริโภครายย่อยส่วนใหญ่จะมีพอร์ต RJ45 LAN ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับเราเตอร์หรือโมเด็มของคุณผ่านสาย Ethernet ได้ บอร์ดบางรุ่นจะมาพร้อมกับพอร์ตคู่สำหรับใช้กับเสาอากาศ Wi-Fi รวมไปถึงคุณสมบัติด้านการเชื่อมต่อขั้นสูง เช่น พอร์ต Ethernet คู่ ระดับ 10-Gigabit
PCB คืออะไร
การทำความรู้จักกับคำศัพท์พื้นฐานเกี่ยวกับการผลิตเมนบอร์ดสักเพียงเล็กน้อยจะเป็นประโยชน์มาก เพราะคู่มือและโฆษณาของผู้ผลิตมักจะอ้างอิงถึงวิธีการประกอบ PCB ของตน
เมนบอร์ดสมัยใหม่เป็นแผ่นวงจรพิมพ์หรือ Printed Circuit Board (PCB) ที่ผลิตจากไฟเบอร์กลาสและทองแดงหลายๆ ชั้น โดยมีส่วนประกอบอื่นๆ ติดตั้งอยู่ภายในหรือเสียบเข้ากับซ็อกเก็ต
โดยปกติแล้ว PCB สมัยใหม่จะมีชั้นดังกล่าวอยู่ 10 ชั้น ทำให้เชื่อมต่อกันได้แน่นหนามากกว่าที่มองเห็นได้จากภายนอก
"เทรซ" นำไฟฟ้าแต่ละตัว (เส้นที่มองเห็นได้บนพื้นผิวของบอร์ด) เป็นการเชื่อมต่อทางไฟฟ้าแบบแยกกัน หากมีเทรซใดเทรซหนึ่งเสียหาย วงจรจะไม่สมบูรณ์ และสวนประกอบของเมนบอร์ดจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เช่น หากเทรซที่นำทางจากลิงก์ PCIe ไปที่ PCH เกิดรอยลึก ช่องเสียบ PCIe อาจไม่สามารถจ่ายไฟให้กับการ์ดเสริมที่ติดตั้งอยู่ในนั้นได้
หลังจากสร้างเทรซนำไฟฟ้าผ่านการกัดด้วยสารเคมี ผู้ผลิตจะเพิ่ม Solder Mask สารเคลือบโพลีเมอร์สีเขียวแบบดั้งเดิมที่ช่วยในการป้องกันปฏิกิริยาออกซิเดชัน และยังช่วยป้องกันความเสียหายจากการหยิบจับได้อีกด้วย ทำให้แน่ใจได้ว่าการกระแทกหรือรอยเพียงเล็กน้อยจะไม่ทำให้การทำงานของเทรซขาดตอนในขณะที่คุณติดตั้งเมนบอร์ดลงในเคส
ยังมีอะไรอีกบ้างที่ผู้ผลิตได้เพิ่มเข้าไป
แม้ว่าผู้ผลิตเมนบอร์ดจะไม่ได้สร้างชิปเซ็ตของตัวเอง แต่ก็ต้องผ่านการตัดสินใจมานับไม่ถ้วนเกี่ยวกับการผลิต การออกแบบเพื่อความสวยงาม และโครงแบบ รวมไปถึงระบบระบายความร้อน, คุณสมบัติต่างๆ ของ BIOS, ซอฟต์แวร์ของเมนบอร์ดในระบบ Windows และคุณสมบัติชั้นยอดต่างๆ แม้ว่ากลุ่มคุณสมบัติเหล่านี้จะมีมากเกินกว่าที่จะกล่าวถึงหมด แต่คุณสมบัติเพิ่มเติมที่พบได้ทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็นหมวดหมู่ทั่วๆ ไปดังนี้
การโอเวอร์คล็อก
เมนบอร์ดชั้นยอดมักจะมีระบบทดสอบและการปรับจูนอัตโนมัติสำหรับการโอเวอร์คล็อก CPU, GPU และหน่วยความจำของคุณ ทำให้มีทางเลือกที่ใช้งานง่ายสำหรับการปรับความถี่และตัวเลขแรงดันไฟฟ้าด้วยตัวเองในการใช้งาน UEFI และอาจมาพร้อมกับอุปกรณ์กำหนดสัญญาณคล็อกแบบออนบอร์ดอีกด้วย เพื่อให้ทำการควบคุมความเร็ว CPU, VRM (Voltage Regulator Module) แบบเพิ่มสมรรถนะ, เซ็นเซอร์ตรวจจับความร้อนใกล้กับส่วนประกอบที่โอเวอร์คล็อก และปุ่มภายนอกบนเมนบอร์ดสำหรับเริ่มและหยุดการโอเวอร์คล็อกได้อย่างละเอียด คุณสามารถดูเพิ่มเติมเกี่ยวกับการโอเวอร์คล็อกพีซีของคุณได้ที่นี่
การระบายความร้อน
ส่วนประกอบต่างๆ ของเมนบอร์ด เช่น PCH และ VRM จะทำให้เกิดความร้อนสูงมาก เพื่อช่วยให้ส่วนประกอบดังกล่าวอยู่ในช่วงอุณหภูมิขณะทำงานที่ปลอดภัยและป้องกันปัญหาด้านการลดทอนประสิทธิภาพ ผู้ผลิตเมนบอร์ดจึงติดตั้งโซลูชันด้านการระบายความร้อนไว้อย่างหลากหลาย ซึ่งมีตั้งแต่ระบบระบายความร้อนแบบ Passive จากฮีตซิงค์ ไปจนถึงระบบระบายความร้อนแบบ Active เช่น พัดลมขนาดเล็กหรือระบบระบายความร้อนด้วยน้ำในตัว
ซอฟต์แวร์
ชุดซอฟต์แวร์ของเมนบอร์ดช่วยให้การจัดการเมนบอร์ดของคุณใน Windows ง่ายยิ่งขึ้น ชุดคุณสมบัติจะแตกต่างกันไประหว่างผู้ผลิตแต่ละราย แต่ซอฟต์แวร์ดังกล่าวอาจสแกนหาไดรเวอร์ที่ล้าสมัย ตรวจติดตามอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ อัปเดต BIOS ของเมนบอร์ดอย่างปลอดภัย ช่วยให้ทำการปรับความเร็วของพัดลมได้ง่าย นำเสนอโปรไฟล์การประหยัดพลังงานที่ลึกยิ่งกว่า Windows* 10 หรือติดตามการใช้งานเครือข่ายได้
ระบบเสียง
Advanced Audio Codec, อุปกรณ์ขยายเสียงในตัว และตัวเก็บประจุแบบเพิ่มสมรรถนะสามารถเพิ่มเอาต์พุตให้กับระบบเสียงแบบออนบอร์ดได้ อาจมีการแยกช่องสัญญาณเสียงที่แตกต่างกันออกจากกันในชั้น PCB ต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสัญญาณ
ก่อสร้าง
ผู้ผลิตจำนวนมากโฆษณาเทคนิคการสร้าง PCB โดยสื่อถึงการช่วยแยกวงจรของหน่วยความจำออกจากกันและเพิ่มความถูกต้องสมบูรณ์ของสัญญาณ และเมนบอร์ดบางรุ่นก็ได้เพิ่มการเคลือบผิวด้วยเหล็กกล้าเพิ่มเติมที่ด้านบนของ PCB อีกด้วย เพื่อป้องกันขั้วต่อหรือรองรับการ์ดกราฟิก (โดยปกติแล้วจะยึดเอาไว้ด้วยแลตช์ทั่วไป)
ไฟ RGB
เมนบอร์ดชั้นยอดมักมีหัวต่อ RGB มาเพื่อจ่ายไฟให้กับแผงไฟ LED ที่มีเอฟเฟกต์และสีแบบปรับแต่งได้ หัวต่อ RGB แบบระบุตำแหน่งไม่ได้จะจ่ายไฟให้กับแถบไฟ LED ที่แสดงสีเดียวพร้อมกัน (โดยมีเอฟเฟกต์และความเข้มแตกต่างกัน) หัวต่อ RGB แบบระบุตำแหน่งได้จะจ่ายไฟให้กับไฟ LED ที่มีช่องสัญญาณสีมากมาย ช่วยให้สามารถแสดงระดับความเข้มสีได้หลากหลายในเวลาเดียวกัน โดยทั่วไปแล้ว แอปบนสมาร์ทโฟนและซอฟต์แวร์ที่มาพร้อมเครื่องจะช่วยให้การกำหนดค่าไฟ LED เป็นเรื่องง่าย
เลือกด้วยตัวคุณเอง
ไม่ว่าคุณจะกำลังวางแผนสำหรับการจัดสเปกครั้งถัดไปหรือกำลังอัปเกรดพีซีสำหรับเล่นเกมเครื่องปัจจุบันของคุณ การทำความเข้าใจถึงส่วนประกอบต่างๆ ของเมนบอร์ดของตัวเองนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เมื่อคุณรู้ว่าทุกอย่างทำอะไรได้บ้าง คุณจะรู้วิธีเลือกเมนบอร์ดสำหรับเล่นเกมที่เหมาะกับงานผลิตของคุณ
คุณจำเป็นต้องมีซ็อกเก็ตที่ตรงกับ CPU ของคุณ ชิปเซ็ตที่ดึงศักยภาพฮาร์ดแวร์ของคุณออกมาได้สูงสุด และชุดคุณสมบัติที่ตรงกับความต้องการด้านการประมวลผลของคุณ ใช้เวลาสักครู่ในการเขียนรายการมาเธอร์บอร์ดที่เข้ากันได้และเปรียบเทียบข้อดีหลักๆ ของเมนบอร์ดเหล่านั้นก่อนที่จะทำการตัดสินใจ แล้วคุณก็จะได้มาเธอร์บอร์ดที่ตรงกับที่คุณกำลังมองหา