FaaaS คืออะไร
คลาวด์คอมพิวติ้งประเภทต่างๆ กำลังเป็นที่นิยมในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากผู้นำด้านไอทียอมรับความสะดวก ความสามารถในการปรับขนาด และข้อได้เปรียบด้านต้นทุนของแนวทางการจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่ยืดหยุ่นนี้
ผู้ให้บริการระบบคลาวด์ (CSP) ได้ตอบสนองด้วยโมเดลบริการคลาวด์ต่างๆ ที่หลากหลาย โดยแต่ละรายมีระดับบริการของตนเอง หนึ่งในข้อเสนอที่ครอบคลุมมากที่สุดคือการให้บริการฟังก์ชัน (FaaS)
ในโมเดล FaaS ลูกค้าจะรันโค้ดในระบบคลาวด์ ในขณะที่ CSP จะโฮสต์และจัดการการดำเนินการแบ็คเอนด์ทั้งหมด ตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐานไปจนถึงแอปพลิเคชัน ลูกค้ามีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะข้อมูลของตนเองและฟังก์ชันการใช้งานที่พวกเขาดำเนินการเท่านั้น
โดยทั่วไปแล้ว ลูกค้า FaaS จะจ่ายเฉพาะสำหรับรันไทม์จริงที่จำเป็นในการเรียกใช้ "ฟังก์ชัน" ในการให้บริการฟังก์ชัน การดำเนินการอาจใช้เวลาเพียงเสี้ยววินาที และระบบ FaaS สามารถปรับขนาดได้อย่างรวดเร็วเพื่อรองรับหลายอินสแตนซ์พร้อมกัน ไม่มีค่าใช้จ่ายต่อเนื่องที่เรียกเก็บจากลูกค้าในช่วงเวลาว่างระหว่างการดำเนินการของฟังก์ชันหนึ่งกับฟังก์ชันถัดไป
การกำหนดราคาตามเหตุการณ์นี้ทำให้โมเดลบริการคลาวด์นี้เป็นตัวเลือกที่ประหยัดสำหรับนักพัฒนาที่มีความต้องการการประมวลผลเป็นระยะๆ หรือไม่ต่อเนื่อง
การใช้งานทั่วไปของ FaaS ได้แก่ การประมวลผลข้อมูล การตรวจสอบความถูกต้อง และการเรียงลำดับ ตลอดจนการสนับสนุนแบ็คเอนด์สำหรับแอปพลิเคชันมือถือและ IoT
"การประมวลผลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์" ที่รันบนเซิร์ฟเวอร์
โมเดล FaaS ถือว่า "ไร้เซิร์ฟเวอร์" จากมุมมองของไคลเอ็นต์ เนื่องจาก CSP จัดการโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ แพลตฟอร์ม ระบบปฏิบัติการ และแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ ซึ่งทั้งหมดนี้อาจไม่ชัดเจนสำหรับผู้ใช้
อย่างไรก็ตาม "การประมวลผลแบบไร้เซิร์ฟเวอร์" นั้นเป็นชื่อเรียกที่ไม่ถูกต้องนัก แม้ว่าผู้ใช้ FaaS จะไม่จัดการหรือกระทั่งมองเห็นฮาร์ดแวร์ แต่โมเดล FaaS นั้นทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ CSP เป็นเจ้าของ ดำเนินการ และจัดการฮาร์ดแวร์ ดังนั้นลูกค้าจึงสามารถใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันการทำงานได้ตามต้องการอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องซื้อหรือบำรุงรักษาเซิร์ฟเวอร์ของตนเอง
"บริการ" ที่ความหมายของ "S" ตัวพิมพ์ใหญ่ใน 'FaaS' คือบริการทางธุรกิจ เช่นเดียวกับผู้ให้ "บริการ" คลาวด์ บริการในที่นี้คือหน่วยของการบริโภค คุณไม่ได้จ่ายเงินเพื่อเซิร์ฟเวอร์ แต่เพื่อสิ่งที่เซิร์ฟเวอร์โฮสต์อยู่” 1
เทคโนโลยี Intel® สำหรับ FaaS
FaaS ที่ CSP ส่วนใหญ่นำเสนอนั้นไม่ได้ระบุส่วนประกอบของแพลตฟอร์มไว้อย่างละเอียด โดยทั่วไปแล้วผู้ใช้ไม่สามารถขอเทคโนโลยีฮาร์ดแวร์เฉพาะสำหรับเครื่องเสมือนของตนได้ คุณสมบัติบางอย่างของฮาร์ดแวร์ Intel® เช่น ตัวเร่งการประมวลผล Intel® AVX-512 และ AVX2 ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพและเพิ่มความพึงพอใจของผู้ใช้ ด้วยเหตุนี้ CSP บางรายจึงต้องการให้บริการ FaaS ที่ตนนำเสนอรันบนแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยีของ Intel®
แม้ว่านักพัฒนาซอฟต์แวร์จะไม่สามารถระบุเครื่องเสมือนที่ใช้เทคโนโลยีของ Intel ในสภาพแวดล้อม FaaS ได้ แต่ก็สามารถขอ CSP เพื่อเข้าถึงไลบรารีโค้ดที่ปรับให้เหมาะกับ Intel ได้ ไลบรารีเหล่านี้บางส่วนมีอยู่ในชุดเครื่องมือ Intel® oneAPI และมาพร้อมโค้ดเสริมประสิทธิภาพเพื่อเร่งขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน การบีบอัด การเข้ารหัส และงานอื่นๆ ที่ต้องใช้การประมวลผลสูง การเพิ่มประสิทธิภาพดังกล่าวสามารถช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดรันไทม์และเงินในการใช้งาน FaaS
ไมโครเซอร์วิสคืออะไร
Microservices เป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมแอปพลิเคชัน ซึ่งส่วนหนึ่งของรหัสแอปพลิเคชันทำงานค่อนข้างเป็นอิสระจากฟังก์ชันอื่นๆ เมื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่ซับซ้อน แนวทางไมโครเซอร์วิสจะแยกหน้าที่ต่างๆ ออกจากกันเพื่อให้แอปพลิเคชันทั้งหมดสามารถทำงานต่อไปได้แม้ว่าบริการหนึ่งจะล้มเหลว
สภาพแวดล้อมการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ใช้ไมโครเซอร์วิสสามารถเกิดขึ้นได้ในบริบทของสถาปัตยกรรมที่เน้นบริการ แอปพลิเคชันที่ซับซ้อนได้รับการสร้างและบำรุงรักษาเป็นชุดของบริการที่ไม่ต่อเนื่องซึ่งผสานรวมอย่างหลวมๆ ผ่านอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (API) แอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่เน้นบริการและไมโครเซอร์วิสของส่วนประกอบนั้นบำรุงรักษาและอัปเกรดได้ง่าย เนื่องจากสามารถแพตช์หรืออัปเกรดบริการแต่ละรายการได้โดยไม่ต้องปิดแอปพลิเคชันทั้งหมด
โมดูลไมโครเซอร์วิสจำนวนมากสามารถพัฒนาและส่งมอบได้อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อม FaaS ในหลายกรณี ไมโครเซอร์วิสจะถูกบรรจุหรือแยกไว้ต่างหากเพื่อปรับปรุงการควบคุมแต่ละส่วนของแอปพลิเคชันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
การให้บริการฟังก์ชันทำงานอย่างไร
การให้บริการฟังก์ชันในมุมมองของผู้ใช้คือสภาพแวดล้อมที่สร้างไว้ล่วงหน้าสำหรับการพัฒนาหรือปรับใช้ซอฟต์แวร์ CSP เป็นเจ้าของและจัดการสแต็คเทคโนโลยีทั้งหมด ได้แก่ฮาร์ดแวร์ มิดเดิลแวร์ และซอฟต์แวร์ทั้งหมด
ในโมเดลบริการคลาวด์อื่นๆ ผู้ใช้ต้องจ่ายเงินตามระยะเวลาที่กำหนดสำหรับการเข้าถึงเครื่องเสมือนหรือคอนเทนเนอร์บางตัวอย่างต่อเนื่องและสำหรับทรัพยากรที่พวกเขาใช้ ในโมเดล FaaS ลูกค้าจ่ายเงินสำหรับเวลาและทรัพยากรที่จำเป็นในการผลิตฟังก์ชันเท่านั้น
ตัวอย่างเช่น โครงสร้างการกำหนดราคาของ CSP รายหนึ่งกำหนดให้วัดระยะเวลาของฟังก์ชันและการปรับใช้ทรัพยากรเป็น "กิกะไบต์วินาที" และปัดขึ้นเป็นมิลลิวินาทีที่ใกล้ที่สุด2
ข้อดีของ FaaS
ผู้ใช้ FaaS จะได้รับประโยชน์จากรูปแบบการกำหนดราคาแบบจ่ายตามการใช้งานจริง ซึ่งแตกต่างจากระบบคลาวด์คอมพิวติ้งประเภทนี้จากโมเดล "การให้บริการ" อื่นๆ CSP เป็นเจ้าของและจัดการสแต็คเทคโนโลยีทั้งหมด ตั้งแต่ฮาร์ดแวร์ไปจนถึงซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันและเครื่องมือ ส่วนผู้ใช้จัดการเฉพาะข้อมูลและฟังก์ชันของตนเองเท่านั้น
ผู้ใช้ต้องจ่ายเงินเฉพาะเวลาที่ฟังก์ชันหรือบริการกำลังทำงานในสภาพแวดล้อม FaaS เท่านั้น การเกิดขึ้นของกิจกรรมเหล่านี้มักวัดเป็นมิลลิวินาที ผู้ใช้ไม่ต้องจ่ายเงินในระหว่างเวลาที่ไม่มีการเกิดขึ้นของกิจกรรมเหล่านั้น
FaaS เหมาะที่สุดสำหรับปริมาณงานที่คาดเดาไม่ได้และไม่ต่อเนื่อง
ความท้าทายของ FaaS
สำหรับปริมาณงานที่ยาวนานและไม่หยุดชะงัก โมเดล "การให้บริการ" อื่นอาจประหยัดกว่า FaaS เนื่องจากการใช้งาน FaaS มักจะวัดและคิดเงินเป็นหน่วยมิลลิวินาที และ FaaS มีราคาแพงกว่าบริการคลาวด์ IaaS ทั่วไปมาก การใช้งานอย่างต่อเนื่องจึงอาจมีราคาแพงมาก
นอกจากนี้กาดีบักอาจทำได้ยากในการใช้งาน FaaS เนื่องจากมีองค์ประกอบของสภาพแวดล้อมการพัฒนาที่ไม่ชัดเจนสำหรับผู้ใช้ เมื่อจำเป็นต้องมีการทดสอบอย่างละเอียด ควรใช้โมเดลคลาวด์คอมพิวติ้งที่แตกต่างกันเพื่อให้ผู้ใช้สามารถระบุและควบคุมระบบนิเวศมาตรฐานที่หลากหลาย อย่างไรก็ตาม FaaS จะเหมาะสมในกรณีที่เทคโนโลยีซอฟต์แวร์มีความสมบูรณ์และเป็นอิสระจากแพลตฟอร์มอย่างสมบูรณ์
กรณีการใช้งาน FaaS
ฟังก์ชันการใช้งานตามความต้องการเป็นโมเดลการใช้งานโดยรวมที่เหมาะสมสำหรับสภาพแวดล้อม FaaS คุณลักษณะต่างๆ จะเปิดและปิดการทำงานอย่างรวดเร็วและเป็นระยะๆ ในสภาพแวดล้อมตามความต้องการ ผู้ใช้ FaaS จะจ่ายเงินเฉพาะเวลาที่ฟีเจอร์นี้ทำงาน ดังนั้นโมเดลตามความต้องการจึงเป็นการใช้ FaaS ที่ประหยัด
เว็บไซต์เชิงโต้ตอบเป็นตัวอย่างของโมเดลการใช้งานตามความต้องการ โดยเฉพาะในการดำเนินการแบ็คเอนด์ FaaS จะเปิดใช้งานก็ต่อเมื่อผู้ใช้ปลายทางคลิกที่เว็บไซต์และเรียกเหตุการณ์สั้นๆ ผู้เผยแพร่สื่อออนไลน์และเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซใช้ประโยชน์จากความยืดหยุ่นของโมเดล FaaS เนื่องจากผู้ใช้เข้าถึงเว็บไซต์ของพวกเขาในเวลาที่ไม่อาจคาดเดาได้ ตัวอย่างเช่น บริษัทที่ให้บริการสื่อสตรีมมิ่งอาจจัดการเว็บไซต์หลักด้วยเมนูผู้ใช้และคำแนะนำในแผน FaaS ของ CSP
งานประมวลผลข้อมูลและการตรวจสอบอาจปรับให้เข้ากับโมเดล FaaS ได้ กรณีการใช้งานหนึ่งคือการติดตั้ง Internet of Things (IoT) ที่ส่งข้อมูลเซ็นเซอร์ไปยังคลาวด์เป็นระยะๆ เพื่อการวิเคราะห์
การพัฒนาซอฟต์แวร์อาจทำได้ในสภาพแวดล้อม FaaS โดยมีเงื่อนไขว่าการพัฒนาจะต้องมีปริมาณงานที่ไม่ต่อเนื่อง
การใช้งานซอฟต์แวร์อาตเหมาะสมกับโมเดล FaaS ในการให้บริการไมโครเซอร์วิส การให้บริการซอฟต์แวร์ (SaaS) อาจทำการดำเนินการเองบนพื้นฐาน FaaS ในระหว่างขั้นตอนการเริ่มต้นใช้งานเมื่อมีการเพิ่มผู้ใช้ใหม่อย่างรวดเร็วและซอฟต์แวร์กำลังถูกใช้ในรูปแบบเปิด-ปิดซ้ำๆ ที่ไม่ปกติ
ประเภทของคลาวด์คอมพิวติ้ง
บริการ คลาวด์คอมพิวติ้งสามารถแบ่งออกเป็น 2 หมวดหมู่พื้นฐานคือสาธารณะและส่วนตัว หลายองค์กรปรับใช้รูปแบบบริการคลาวด์ทั้งสองโมเดลร่วมกัน ในการกำหนดค่าแบบไฮบริดหรือมัลติคลาวด์
คลาวด์สาธารณะ
ในโมเดลบริการคลาวด์สาธารณะ ผู้ใช้จะต้องจ่ายค่าใช้คอมพิวเตอร์ ที่เก็บข้อมูล และทรัพยากรเครือข่ายของ CSP บริการคลาวด์สาธารณะพร้อมให้บริการตามต้องการ จึงสามารถปรับใช้ได้อย่างรวดเร็วและจัดงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยมีการลงทุนล่วงหน้าเพียงเล็กน้อย
คลาวด์ส่วนตัวคืออะไร
ขณะเดียวกัน คลาวด์ส่วนตัวทำงานบนศูนย์ข้อมูลขององค์กร ซึ่งต้องมีการลงทุนล่วงหน้าอย่างมากในด้านฮาร์ดแวร์และการจัดการอย่างต่อเนื่อง ในระยะยาว คลาวด์ส่วนตัวอาจประหยัดกว่าโมเดลบริการคลาวด์สาธารณะในบางกรณี
ข้อดีของคลาวด์ส่วนตัวได้แก่การควบคุมทรัพย์สินทางปัญญาและการปฏิบัติตามกฎระเบียบในพื้นที่ รวมถึงรองรับปริมาณงานและแอปพลิเคชันที่มีความสำคัญต่อธุรกิจซึ่งอาจไม่สามารถโยกย้ายไปยังคลาวด์สาธารณะได้อย่างง่ายดาย
คลาวด์แบบไฮบริด
คลาวด์แบบไฮบริดมอบประโยชน์ให้กับองค์กรทั้งในโมเดลบริการคลาวด์สาธารณะและส่วนตัว คลาวด์แบบไฮบริดเชื่อมต่อคลาวด์สาธารณะและคลาวด์ส่วนตัว เพื่อให้องค์กรสามารถแชร์แอปพลิเคชันและข้อมูลระหว่างสองสภาพแวดล้อม คลาวด์แบบไฮบริดมอบความยืดหยุ่น ความสามารถในการปรับขนาด การควบคุม และการประหยัดต้นทุนที่อาจเกิดขึ้น
มัลติคลาวด์
ในโมเดลมัลติคลาวด์ องค์กรจะได้รับประโยชน์จากบริการคลาวด์คอมพิวติ้งจาก CSP หลายราย การปรับใช้ทรัพยากรมักจะจัดการภายในซอฟต์แวร์ กลยุทธ์มัลติคลาวด์มีความยืดหยุ่นสูง เนื่องจากองค์กรสามารถสร้างสมดุลของปริมาณงานและปรับค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมโดยไม่ต้องผูกมัดกับข้อเสนอบริการหรือสแต็คเทคโนโลยีของ CSP เพียงรายเดียว
องค์กรหลายแห่งเลือกใช้อินสแตนซ์ที่ใช้เทคโนโลยี Intel® ที่ CSP แต่ละตัวในการปรับใช้มัลติคลาวด์เพื่อให้เกิดความสอดคล้องและความเข้ากันได้ระหว่างผู้ให้บริการหลายราย
IaaS, PaaS, และ SaaS
CSP หลายรายนำเสนอตัวเลือก "การให้บริการ" คลาวด์คอมพิวติ้งที่หลากหลายตั้งแต่การเข้าถึงฮาร์ดแวร์เซิร์ฟเวอร์ไปจนถึงและรวมถึงตัวเลือกที่ครอบคลุมอย่างเต็มรูปแบบ เช่น FaaS
การให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS)
บริการคลาวด์คอมพิวติ้งขั้นพื้นฐานที่เป็นที่คุ้นเคยที่สุดเรียกว่าการให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) CSP ในโมเดล IaaS เป็นเจ้าของและจัดการฮาร์ดแวร์ทั้งหมด รวมถึงเซิร์ฟเวอร์ เครือข่าย และพื้นที่เก็บข้อมูล ผู้ใช้ต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับสแต็กซอฟต์แวร์ รวมถึงการสมัครสมาชิก ใบอนุญาต การอัปเกรด และการบำรุงรักษาสำหรับระบบปฏิบัติการและแอปพลิเคชันทั้งหมด ตลอดจนข้อมูลและฟังก์ชันขององค์กร
ผู้จัดการฝ่ายไอทีหลายรายหันมาใช้ IaaS แทนการจัดซื้อและบำรุงรักษาฮาร์ดแวร์ภายในองค์กรหรือที่จัดวางไว้ในสถานที่เดียวกัน โดยมีค่าใช้จ่ายด้านทุนที่เกี่ยวข้อง IaaS เป็นโมเดลที่มีความยืดหยุ่นซึ่งสามารถปรับขนาดได้ตามความต้องการของผู้ใช้ และค่าใช้จ่ายของ CSP จะรวมอยู่ในงบประมาณขององค์กรในฐานะค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การให้บริการแพลตฟอร์ม (PaaS)
การให้บริการแพลตฟอร์ม (PaaS) เป็นโมเดลบริการคลาวด์ที่นำเสนอสภาพแววดล้อมการพัฒนาและการปรับใช้ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยทั่วไปแล้ว ข้อเสนอ PaaS ของ CSP จะรวมโครงสร้างพื้นฐานฮาร์ดแวร์ทั้งหมดของ IaaS บวกกับบล็อกการสร้างที่ประกอบด้วยแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ ได้แก่ระบบปฏิบัติการ มิดเดิลแวร์ เครื่องมือในการพัฒนา และบริการการจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลบางประเภท
ผู้ใช้ PaaS ยังคงรับผิดชอบในการจัดการชั้นแอปพลิเคชันของสแต็กซอฟต์แวร์ เช่นเดียวกับข้อมูลและฟังก์ชันของตนเอง เช่นเดียวกับในโมเดล IaaS
การให้บริการซอฟต์แวร์ (SaaS)
SaaS หรือการให้บริการซอฟต์แวร์ อาจเป็นโมเดลบริการคลาวด์คอมพิวติ้งที่แพร่หลายมากที่สุด ตัวอย่างการใช้งาน SaaS มีให้เห็นในเกือบทุกองค์กร รวมถึงผู้ที่ปฏิเสธ IaaS เพื่อที่จะเป็นเจ้าของและจัดการโครงสร้างพื้นฐานเซิร์ฟเวอร์ภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ
แอปพลิเคชันบางตัว เช่น อีเมล, CRM, ชุดเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และพื้นที่จัดเก็บไฟล์ มีการให้บริการอย่างสะดวกสบายในโมเดล SaaS องค์กรจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมใบอนุญาตสำหรับช่วงเวลาที่กำหนด และแอปพลิเคชันจะพร้อมใช้งานในระบบคลาวด์ ผู้ใช้และทีมไอทีไม่ต้องดาวน์โหลดและติดตั้งซึ่งใช้เวลานาน และไม่จำเป็นต้องจัดการการอัปเดต